ตอนที่ 1
ภาพรวม กศน.ตำบลขะเนจื้อ
ข้อมูลพื้นฐานของกศน.ตำบลขะเนจื้อ
ตำบลขะเนจื้อ มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและ เป็นป่าไม้ มีพื้นเป็นที่ดอน แต่บางหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา มีการตั้งบ้านเรือนเป็นหย่อม ๆ และกระจัดกระจาย มีเนื้อที่สำหรับทำนาเพียงเล็กน้อยกระจายอยู่ทั่วไป สภาพภูมิอากาศมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูร้อน และฤดูหนาว ในฤดูฝนพื้นที่ที่เป็นที่ดอนมี การปลูกพืชไร่และไม้ผลไม้ยืนต้น มีพื้นที่ทั้งหมด 102,694 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 19,239 ไร่ ที่อยู่อาศัย 785 ไร่ สำหรับที่ตั้งของส่วนราชการ มีพื้นที่ประมาณ 390 ไร่ ที่เหลือเป็นที่สาธารณะ ป่าเสื่อมโทรม ป่าสงวน ฯลฯ ประมาณ 82,280 ไร่
เส้นทางการคมนาคม
การคมนาคมของตำบลขะเนจื้อ มี 11 หมู่บ้านที่มีถนนสามารถใช้รถยนต์และจักยานยนต์ได้ ส่วนอีก 3 หมู่บ้านการคมนาคมเป็น การเดินทางด้วยทางเท้าซึ่งสามารถเดินทางได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ในฤดูฝนจะการเดินทางจะถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง
เส้นทางการเดินทาง มีถนนสายหลักในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 2 สาย คือ
1. ถนนสายแม่ระมาด – บ้านตาก ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร
2. ถนนสายแม่สอด – ท่าสองยาง ระยะทางประมาณ40 กิโลเมตร
มีถนนลาดยาง ในความรับผิดชอบของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท 2 สาย คือ
1. ถนนสายแม่ระมาดน้อย – บ้านทุ่งมะขามป้อม ระยะทางประมาณ10 กิโลเมตร
2. ถนนสายป่าไร่ – บ้านแม่ระมาดน้อย ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแม่ตื่น และตำบลสามหมื่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำเมย ซึ่งกั้นพรมแดนไทย-พม่า
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
มีลำน้ำ ลำห้วย 15 สาย ได้แก่ ห้วยขี้เท่อ ห้วยแม่ระมาด ห้วยแม่ระมาดน้อย ห้วยแห้ง ห้วยปลากอง ห้วยไร่ดินแดง ห้วยหม่อวา ห้วยงูเห่า ห้วยน้ำใส ห้วยขะเนจื้อ ห้วยผาลี ห้วยผาน้อย ห้วยคด ห้วยน้ำแยก ห้วยน้ำดิบ และบึง หนอง สระน้ำ อีก 5 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ตำบลขะเนจื้อ คือ หินสี และป่าไม้
จำนวนประชากร
จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,982 คน และมีหลังคาเรือนจำนวน 2,658 หลังคาเรือน ตำบลขะเนจื้อ ห่างจากอำเภอแม่ระมาด 6 กิโลเมตรเศษ มีหมูบ้าน 14 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านนุบอ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 2 บ้านป่าไร่ ประชากรเป็นชาวไทยพื้นราบ
หมู่ที่ 3 บ้านพะละ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 4 บ้านแพะ ประชากรเป็นชาวไทยพื้นราบ
หมู่ที่ 5 บ้านห้วยปูลิง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหม่องวา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 7 บ้านขะเนจื้อ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 8 บ้านแม่ระมาดน้อย ประชากรเป็นชาวไทยพื้นราบ
หมู่ที่ 9 บ้านห้วยแห้ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งผู้เมีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 11 บ้านจกปก ประชากรเป็นชาวไทยพื้นราบ
หมู่ที่ 12 บ้านห้วยปลากอง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หมู่ที่ 13 บ้านหนองหลวง ประชากรเป็นชาวไทยพื้นราบ
หมู่ที่ 14 บ้านซิปะก่อ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
จำนวนหมู่บ้านและจำนวนประชากร
หมู่ที่ | บ้าน | จำนวนครัวเรือน (ครัวเรือน) | ประชากร (คน) | ประชากรรวม (คน) | |
ชาย (คน) | หญิง (คน) | ||||
1 | บ้านนุบอ | 118 | 190 | 152 | 342 |
2 | บ้านป่าไร่ | 233 | 315 | 300 | 615 |
3 | บ้านพะละ | 140 | 270 | 257 | 527 |
4 | บ้านแพะ | 189 | 285 | 293 | 578 |
5 | บ้านห้วยปูลิง | 138 | 211 | 235 | 446 |
6 | บ้านหม่องว่า | 250 | 309 | 309 | 618 |
7 | บ้านขะเนจื้อ | 409 | 603 | 565 | 1,168 |
8 | บ้านแม่ระมาดน้อย | 287 | 429 | 394 | 823 |
9 | บ้านห้วยแห้ง | 136 | 219 | 184 | 403 |
10 | บ้านทุ่งผู้เมีย | 166 | 257 | 239 | 496 |
11 | บ้านจกปก | 219 | 344 | 331 | 675 |
12 | บ้านห้วยปลากอง | 131 | 226 | 163 | 389 |
13 | บ้านหนองหลวง | 142 | 208 | 202 | 410 |
14 | บ้านชิปะก่อ(กิ่งหม่องวา) | 100 | 209 | 191 | 400 |
รวม | 2,658 | 4,075 | 3,815 | 7,890 |
ที่มา : สำนักงานทะเบียนอำเภอแม่ระมาด ข้อมูล ณ วันที่ 30 เดือนเมษายน พ.ศ. 2553
ผู้นำชุมชน
หมู่ที่ | ชื่อ – นามสกุล | ชื่อหมู่บ้าน | ตำแหน่ง |
1 | นายติดา ทองผกาธารา | บ้านนุบอ | ผู้ใหญ่บ้าน |
2 | นายชม ติ๊บตา | บ้านป่าไร่ | ผู้ใหญ่บ้าน |
3 | นายบูชา กล้าแกร่งอาชา | บ้านพะละ | ผู้ใหญ่บ้าน |
4 | นายคำหมื่น การังใจ | บ้านแพะ | กำนันตำบลขะเนจื้อ |
5 | นายส่อดิ กล้าแกร่งอาชา | บ้านห้วยปูลิง | ผู้ใหญ่บ้าน |
6 | นายปรีดี เลิศวิภา | บ้านหม่องวา | ผู้ใหญ่บ้าน |
7 | นายสุรัตน์ ขวัญแก้วนากร | บ้านขะเนจื้อ | ผู้ใหญ่บ้าน |
8 | นายสำราญ อินต๊ะ | บ้านแม่ระมาดน้อย | ผู้ใหญ่บ้าน |
9 | นายจ่อง่อย อาชาสงวน | บ้านห้วยแห้ง | ผู้ใหญ่บ้าน |
10 | นายทูลิ กมลาศประวิตร | บ้านตือลือ | ผู้ใหญ่บ้าน |
11 | นายอุเทน ชัยรุ่งทวี | บ้านจกปก | ผู้ใหญ่บ้าน |
12 | นายสมพงษ์ พงค์อภิโชติ | บ้านห้วยปลากอง | ผู้ใหญ่บ้าน |
13 | นายมูล นามโทยะ | บ้านหนองหลวง | ผู้ใหญ่บ้าน |
14 | นายสุกิจ กวยโค๊ะ | บ้านซิป่าก่อ | ผู้ใหญ่บ้าน |
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ประชากรในตำบลขะเนจื้อ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รองลงมา คือ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย รับราชการ ฯ
หน่วยงานธุรกิจ โรงสี 2 แห่ง
สภาพสังคม
การศึกษา
1. สถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อ จำนวน 7 แห่ง
- โรงเรียนห้วยปลากองวิทยาการ ทำการสอนระดับประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงประถมการศึกษาปีที่สี่
- โรงเรียนตือลือราษฏร์พัฒนา ทำการสอนระดับประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึง ประถมการศึกษาปีที่สี่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขะเนจื้อ หมู่ที่ 2 บ้านป่าไร่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขะเนจื้อ หมู่ที่ 6 บ้านหม่องวา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขะเนจื้อ หมู่ที่ 7 บ้านขะเนจื้อ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ระมาดน้อย หมู่ที่ 8 บ้านแม่ระมาดน้อย
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยปลากอง หมู่ที่ 12 บ้านห้วยปลากอง
2. สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 6 แห่ง 2 สาขา
- โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ ทำการสอนชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่สาม
- โรงเรียนบ้านป่าไร่ ทำการสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่หก
- โรงเรียนกลาโหมราชเสนา ทำการสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่หก
- โรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย ทำการสอนชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่สาม
- โรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย สาขาบ้านแพะ ทำการสอนอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่สี่
- โรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย สาขาห้วยปูลิง ทำการสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่สี่
- โรงเรียนบ้านจกปก ทำการสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่สี่
3. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” 7 แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านนุบอ หมู่ที่ 1
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านกิ่งหม่องวา หมู่ที่ 1
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขุนห้วยหม่องวา หมู่ที่ 6
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยแห้ง หมู่ที่9
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านตุเบ หมู่ที่ 10
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านทีมู หมู่ที่ 10
สถาบันและองค์การทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 3/12 แห่ง
- โบสถ์ 5 แห่ง
การสาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบลขะเนจื้อ 2 แห่ง
หน่วยงานด้านความปลอดภัย
- ป้อมยามสายตรวจตำรวจ 1 แห่ง
- ฐานปฏิบัติการของ ตชด. 1 แห่ง
- ด่านตรวจของทหาร 3 แห่ง
องค์กรในชุมชน
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 4 กลุ่ม
- กลุ่มแม่บ้านเคหะกิจ 5 กลุ่ม
- กลุ่มเยาวชน 4 กลุ่ม
- กลุ่ม อสม 2 กลุ่ม
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 กลุ่ม
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมของประชาชนในตำบลขะเนจื้อ มี 11 หมู่บ้าน เดินทางได้สะดวกตลอดปี สำหรับอีก 3 หมู่บ้าน การเดินทางในช่วงฤดูฝนจะเดินทางด้วยทางเท้าเท่านั้น มีถนนสายหลัก จำนวน 2 สาย คือ
1. ถนนสายแม่ระมาด – บ้านตาก
2. ถนนสายแม่สอด – ท่าสองยาง
มีถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย คือ
1. ถนนสายแม่ระมาดน้อย – บ้านทุ่งมะขามป้อม
2. ถนนสายป่าไร่ – บ้านแม่ระมาดน้อย
การโทรคมนาคม
- ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข , สถานีโทรคมนาคม และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้า
- หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าเข้าถึง 11 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 บ้านป่าไร่, หมู่ที่ 3 บ้านพะละ, หมู่ที่ 4 บ้านแพะ, หมู่ที่ 5 บ้านห้วยปูลิง, หมู่ที่ 6 บ้านหม่องวา, หมู่ที่ 7 บ้านขะเนจื้อ, หมู่ที่ 8 บ้านแม่ระมาดน้อย, หมู่ที่ 9 บ้านห้วยแห้ง, หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งผู้เมีย , หมู่ที่ 11 บ้านจกปก, หมู่ที่ 13 บ้านหนองหลวง
- หมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและใช้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านนุบอ, หมู่ที่ 12 บ้านห้วยปลากอง , หมู่ที่ 14 บ้านชิปาก่อ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ / ลำห้วย 16 สาย ได้แก่ ห้วยขี้เท่อ, ห้วยแม่ระมาด, ห้วยแม่ระมาดน้อย, ห้วยแห้ง, ห้วยปลากอง , ห้วยป่าไร่ดินแดง, ห้วยหม่องวา, ห้วยงูเห่า, ห้วยน้ำใส, ห้วยขะเนจื้อ,ห้วยผาลี, ห้วยผาน้อย , ห้วยคด , ห้วยน้ำแยก , ห้วยน้ำดิบ , ห้วยธาตุ
- บึง / หนอง / สระน้ำ และ อื่นๆ 5 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 42 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 15 แห่ง
- บ่อบาดาล 5 แห่ง
- ประปาภูเขา 11 แห่ง
- ประปา (กรมอนามัย) 2 แห่ง
- สระน้ำ 9 แห่ง
ประวัติความเป็นมาของกศน.ตำบลขะเนจื้อ
กศน. ตำบลขะเนจื้อได้รับการอนุเคราะห์จาก ดาบตำรวจ บุญธรรม แหลมคม ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่แหล่งเรียนรู้ทางเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหม่องวาให้การสนับสนุนอาคารสถานที (อาคารของเกษตรอำเภอเก่า)ที่ไม่ใช้แล้วเป็นแหล่งการเรียนการสอน ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม 2551 มาจนถึงปัจจุบัน
โครงสร้างและการจัดองค์กร กศน.ตำบลขะเนจื้อ
โครงสร้างการบริหาร กศน.ตำบลขะเนจื้อ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1. กลุ่มอำนวยการ งานธุรการ และงานสารบรรณ งานอาคารสถานที่ งานพัสดุ งานประชาสัมพันธ์ งานข้อมูลสารสนเทศและการรายงาน งานนิเทศภายใน ติดตามและประเมินผล งานเลขานุการคณะกรรมการ กศน.ตำบล งานประกันคุณภาพภายใน
2. กลุ่มจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย งานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน งานการศึกษานอกระบบต่อเนื่อง และงานการศึกษาตามอัธยาศัย งานพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
3. กลุ่มประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ อบต.ตำบลขะเนจื้อ กำนัน /ผู้ใหญ่บ้านตำบลขะเนจื้อ โรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ วัดบ้านป่าไร่ วัดบ้านแม่ระมาดน้อย วัดบ้านป่าขะเนจื้อ ปภร.ตำบลขะเนจื้อ และตำรวจชุมชนตำบลขะเนจื้อ
บุคลากร กศน.ตำบลขะเนจื้อ
ที่ | ชื่อ – สกุล | ตำแหน่ง | ระยะเวลาปฏิบัติงาน |
1 2 3 | นางฐานิตา โคตรประทุม นางทิพย์นารี หงษ์เวียงจันทร์ นายประมวล คำลำปาง | หัวหน้า กศน.ตำบล ครู ศรช. ครู ศรช. | 2552 – 2554 2548 – 2549 2550 – 2551 |
คณะกรรมการ กศน.ตำบลขะเนจื้อ
ที่ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 | นายปฏิภาณ อ๊ะนา นายคำหมื่น การังใจ นายบุญธรรม แหลมพรม นายทวีทรัพย์ ทองอินต๊ะ นายชนาธิป จันทร์ฟู นายชม ติ๊บตา นายมูล นามโทยะ นางสาวโสภา สนิทอาชา นางฐานิตา โคตรประทุม | ประธาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ |
บทบาทหน้าที่ กศน.ตำบลขะเนจื้อ
กศน.ตำบลขะเนจื้อ มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนเพื่อ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน.ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานจัดการศึกษาให้กับประชาชน
1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล
1) การวางแผนจัดทำฐานข้อมูลชุมชน จัดทำแผนพัฒนาการจัด กศน. ตำบล และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
2) การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การส่งเสริมการรู้หนังสือการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ การศึกษาต่อเนื่อง จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ ส่งเสริมการอ่าน จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อที่หลากหลาย จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
3) บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
- ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
- ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
- ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนร่วมกับ (กระทรวงไอซีที
- มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตร่วมกับ (สสวท.)
- หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
- ธนาคารเคลื่อนที่
- การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
- อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ
4) สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรชุมชนผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นต้น
5) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แผนงาน โครงการ กิจกรรมและผลการดำเนินงานของ กศน. ตำบล ในรูปแบบต่างๆ
6) รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามแบบรายงานและระยะเวลาที่กำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของ กศน. ตำบล
2. ภาคีเครือข่าย
- โรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย
- โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ
- ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหม่องวา
- วัดบ้านป่าไร่
- วัดบ้านแม่ระมาดน้อย
- วัดบ้านป่าขะเนจื้อ
- ปภร.ตำบลขะเนจื้อ
- อบต.ตำบลขะเนจื้อ
- ชมรม กำนัน / ผู้ใหญ่บ้านตำบลขะเนจื้อ
- ตำรวจชุมชนตำบลขะเนจื้อ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
3. ทรัพยากร / สิ่งอำนวยความสะดวก
1. อาคารเรียน 1 หลัง
2. หนังสือเรียน
- ระดับประถม 44 เล่ม
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 304 เล่ม
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 341 เล่ม
3. วารสารสิ่งพิมพ์ 51 เล่ม
4. โต๊ะ 8 ตัว
5. เก้าอี้ 50 ตัว
6. ชั้นวางหนังสือ 6 ชั้น
7. ตู้เอกสาร 2 ตู้
8. ชุดโต๊ะ เก้าอี้ไม้สัก 1 ชุด ( โต๊ะ 1 ตัว , เก้าอี้ 2 ตัว )
4. การดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
1) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information center)
1.1) พัฒนาระบบฐานข้อมูและสารสนเทศระดับชุมชน ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยโดยใช้แบบเก็บข้อมูลของสำนักงาน กศน. จัดเก็บข้อมูลครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ประมวลผลเป็นรายหมู่บ้าน จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ และนำมาใช้ในการบริหารจัดกิจกรรม กศน.
1.2) จัดทำแผนพัฒนการจัด กศน. ตำบล และแผนปฏิบัติการประจำปี นำเสนอแผนต่อคณะกรรมการ กศน. ตำบล และภาคีเครือข่าย และเสนอแผนให้ ผอ.กศน. อำเภอแม่ระมาด พิจารณา อนุมัติ
1.3) เสนอความรู้ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของชุมชน ถูกต้องและทันสมัยโดยเสนอข้อมูลสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้ในชุมชนการตลาดชุมชน สินค้าชุมชน ฯลฯ จัดทำข้อมูลสารสนเทศเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร แผนภูมิ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2) ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)
2.1) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย โดยประสานงาน/วางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย ในชุมชน เช่นคณะกรรมการชุมชน อบต. พัฒนาที่ดิน สถานีอนามัย พัฒนากรตำบล สหกรณ์ ปศุสัตว์ ประมง ตำรวจกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน วัด มัสยิด โรงเรียน ฯลฯ เพื่อจัดกิจกรรมบริการชุมชน รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ของภาคีเครือข่าย ในการจัดการเรียนรู้
2.2) เชื่อมโยงรูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาคีเครือข่าย กับ กศน. ตำบลโดย ส่งเสริมและจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center) (สอศ.) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน (กระทรวงไอซีที) มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (สสวท.) บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ธนาคารเคลื่อนที่ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเคลื่อนที่ ฯลฯ พัฒนารูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพื่อสร้างโอกาส การเรียนรู้ให้กับประชาชน
2.3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โดยจัดทำเว็บไซด์ กศน.ตำบลใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการติดต่อกับผู้เรียน/ผู้รับบริการ สืบค้น รวบรวมและการเผยแพร่ข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลอื่นๆ
3) ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)
3.1) ออกแบบกิจกรรม / โปรแกรมการศึกษา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายโดย กศน.ตำบลขะเนจื้อ และกศน. อำเภอแม่ระมาด ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบกิจกรรม / โปรแกรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน กิจกรรม / โปรแกรม หรือโครงการมีลักษณะที่บูรณาการระหว่างวิถีชีวิต การทำงานและการเรียนรู้
3.2) จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนตำบลขะเนจื้อ
3.2.1) ส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยจัดทำแผนการแก้ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ในตำบลขะเนจื้อ อย่างชัดเจน จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 – 59 ปี เป็นลำดับแรก
3.2.2) การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำแผนยกระดับการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เช่น ผู้เรียนที่ออกกลางคัน เด็กเร่ร่อน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ กลุ่มผู้ย้ายถิ่น ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มอาชีพประชากรวัยแรงงาน เป็นต้น วางแผนการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานผลการดำเนินงาน
3.2.3) การศึกษาต่อเนื่อง
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการ จัดการศึกษาต่อเนื่องประเภทการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพเป็นลำดับแรกโดย จัดทำแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/หลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชนโดยเน้นการเพิ่มทักษะทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และอาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน เช่น การป้องกันสาธารณภัย สุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณธรรมจริยธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนใช้รูปแบบ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสม เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย จัดกระบวนการเรียนรู้ในการเป็นพลเมืองดีของชุมชน สังคม ของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ เศรษฐกิจชุมชน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจัดการศึกษาต่อเนื่องโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2.4) การศึกษาตามอัธยาศัย
การส่งเสริมการอ่าน จัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ครอบครัวรักการอ่าน มุมส่งเสริมการอ่านในชุมชน กศน.ตำบลเคลื่อนที่ อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน หีบหนังสือสู่หมู่บ้าน จุดบริการการอ่านชุมชน มุมอ่านหนังสือที่ท่ารถ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม สถานีอนามัย เป็นต้น
จัดบริการสื่อ จัดบริการสื่อประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมและหลากหลาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ (นสพ.) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาธิต สื่อทดลอง วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เป็นต้น บริการ Student Channel เพื่อเสริมศักยภาพให้กับโรงเรียนดีประจำตำบล บริการการศึกษาทางไกล (ETV) ให้กับนักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไป
4) ศูนย์ชุมชน (Community Center)
จัด กศน. ตำบลขะเนจื้อ เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนเช่น เวทีชาวบ้าน สภากาแฟ สถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลาดนัดอาชีพ กิจกรรมศาสนา วัฒนธรรม เวทีประชาธิปไตย กีฬา ฯลฯโดยครู กศน.ตำบลเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต. อบจ. เทศบาล ตลอดจนภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งอาสาสมัคร ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชน ผู้นำท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
มาตรฐาน กศน.ตำบล
มาตรฐาน กศน.ตำบล ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ
1. ด้านการบริหารจัดการ มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
1.1 อาคาร สภาพเหมาะสม มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การจัดการเรียนรู้
1.2 สื่อ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้
1.3 การบริหารงบประมาณ
1.4 บุคลากร ปฏิบัติงานครอบคลุมตามภารกิจที่กำหนด
2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
2.1 เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (InformationCenter)
2.2 เป็นศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (OpportunityCenter)
2.3 เป็นศูนย์การเรียนชุมชน (LearningCenter)
2.4 เป็นศูนย์ชุมชน (Community Center)
3. ด้านการมีส่วนร่วม มี 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
3.1 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล
3.2 มีการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ในตำบล และต่างตำบล
3.3 ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการดำเนินงาน กศน.ตำบล
4. ด้านการติดตาม ประเมินผลและรายงานผล มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่
4.1 การติดตามและประเมินผล
4.2 การสรุปผลและการรายงานผล
สภาพปัจจุบัน กศน.ตำบลขะเนจื้อ
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
จุดแข็ง
1. สถานที่ตั้ง กศน.ตำบลขะเนจื้อ มีอาคารที่มีความแข็งแรง
2. สถานที่ตั้ง กศน.ตำบล ตั้งอยู่ในที่ที่มีการคมนาคมไปมาสะดวก
3. การจัดองค์กร มีความชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ คืองานแบ่งออกเป็นสามกลุ่มงานได้แก่ กลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มงานการจัดการศึกษาศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และ กลุ่มงานประสานภาคีเครือข่าย
4. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจาก กศน.อำเภอแม่ระมาด มีเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม กศน.ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
จุดอ่อน
1. ที่ตั้ง กศน.ตำบลไม่เป็นเอกเทศ อาศัยอาคารของเกษตรอำเภอหลังเก่าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหม่องวา ต้องอาศัยไฟฟ้า น้ำประปา ของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ไม่สะดวกในการใช้ และการจัดกิจกรรมเรียนการสอน
2. งบประมาณที่ใช้ในการบริหาร กศน.ตำบล มีน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายเกี่ยวกับ วัสดุสำนักงาน ค่าซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์ ค่าถ่ายเอกสาร
3. บุคลากรมีน้อย คือมีครู กศน.ที่เป็นพนักงานราชการทำหน้าที่หัวหน้า กศน.ตำบลจำนวน 1 คน ซึ่งต้องทำงานหลายด้านทั้ง เช่นการจัดการเรียนการสอน การบริหาร การประสานงานภาคีเครือข่าย ส่งผลการทำงานมีประสิทธิภาพน้อย
4. การจัดทำเอกสารหลักสูตร หลักสูตรรายวิชาเลือกและหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องยังไม่เป็นมาตรฐาน
5. ขาดสื่อเทคโนโลยีและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ หนังสือเรียน สื่อสิ่งพิมพ์ วีดีโอ คอมพิวเตอร์ จานดาวเทียม ทำให้การจัดการเรียนสอนมีประสิทธิภาพน้อย
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
โอกาส
1. นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการเรียนฟรี 15 ปี ทำไห้ประชาชนมีความตื่นตัวเห็นความสำคัญของการศึกษาและสมัครเข้าเรียน กศน.เพิ่มขึ้น
2. ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางถึงค่อนข้างดีทำให้กลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีความพร้อมที่จะเรียน กศน.
3. การคมนาคมภายในชุมชนมีความสะดวก เนื่องจากถนนมีสภาพดี
4. บริการ สาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า มีเพียงพอกับความต้องการของชุมชน
5. มีกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน ทำให้มีระบบเศรษฐกิจชุมชน
6. กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ให้การสนับสนุนส่งเสริม การจัดการศึกษา กศน.ตำบล
7. ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้การสนับสนุน การจัดกิจกรรม กศน.เช่น โรงเรียน อบต. วัด
8. มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
จุดอ่อน
1. บางหมู่บ้านการคมนาคมไม่สะดวกในฤดูฝน ได้แก่ บ้านนุบอ บ้านตุเบ บ้านนุลา บ้านกิ่งหม่องวา