วิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่ม 234703 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตพระนคร
ชื่อผู้วิจัย
นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล
บทคัดย่อ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของการทำวิจัย
นักศึกษาส่วนหนึ่งขาดทักษะและนิสัยที่ดีในการทำงานขาดความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย นักศึกษาไม่ได้รับการฝึกทักษะและนิสัยที่ดีในการทำงาน
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาทักษะในการทำงานของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่ม 234703 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตพระนคร
1.
2. เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรักการทำงาน
3. ประชากรที่ทำการศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่ม 234703 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ทักษะกระบวนการทำงาน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.1 ขั้นตระหนัก
1.2 ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน
1.3 ขั้นลงมือปฏิบัติงาน
1.4 ขั้นตรวจสอบประเมินผลงาน
1.5 ขั้นปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน
1.6 ขั้นปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจ
2. เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล เป็นแบบบันทึกการสังเกตการทำงาน ของนักเรียน ดังนี้
2.1 บันทึกการสังเกตความกระตือรือร้นในการทำงาน
2.2 บันทึกการสังเกตความเคารพกฎกติกาของการร่วมกิจกรรม
2.3 บันทึกการสังเกตความตั้งใจทำงาน
2.4 บันทึกการสังเกตความร่วมมือในการทำงาน
2.5 บันทึกการสังเกตความรับผิดชอบในการทำงาน
5. วิธีดำเนินการวิจัย
1. ขั้นตระหนัก ให้นักเรียนแต่ละคนรับมอบหมายงานนำไปศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน ผลดี ผลเสีย และวิธีแก้ไขปรับปรุง
2. ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน นักศึกษาศึกษาการวางแผนว่าจะปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนอย่างไร จะรับผิดชอบงานได้อย่างไร จะมีการศึกษาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ อย่างไร
3. ขั้นลงมือปฏิบัติงาน นักศึกษาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายงานที่วางแผนไว้
4. ขั้นตรวจการประเมินผลงาน นักศึกษาตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร มีสิ่งใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข
5. ขั้นปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน นักศึกษาทำการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานตามที่ได้ตรวจสอบและประเมินผลไว้ จนได้ผลงานตามที่ต้องการ
6. ขั้นปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจ นักศึกษานำประสบการณ์จากการทำงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำงานเป็น ทำงานอย่างมีความสุข และภาคภูมิใจในผลงานของตน
วิธีการรวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกการสังเกต และกระบวนการทำงานของนักเรียน
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปผลจากการบันทึกการสังเกต และกระบวนการทำงานของนักศึกษา โดยใช้อัตราส่วนร้อยละจากจำนวนนักศึกษา 37 คน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และมีความสามารถในด้านต่างๆมากขึ้น กล่าวคือ นักศึกษามีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน และมีการใช้และดูแลเก็บรักษาเครื่องมือทำงานได้อย่างน่าพอใจดังนี้
1. จำนวนนักศึกษาที่มีความกระตือรือร้นทักษะกระบวนการทำงานในระดับ น่าพอใจ
2. จำนวนนักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมทักษะกระบวนการทำงานในระดับดีมาก
3. จำนวนนักศึกษาที่ตั้งใจทำงานทักษะกระบวนการทำงานในระดับน่าพอใจ
4. จำนวนนักศึกษาที่มีความร่วมมือในการทำงานทักษะกระบวนการทำงานในระดับดีมาก
5. จำนวนนักศึกษาที่มีความรับผิดชอบทักษะกระบวนการทำงานในระดับน่าพอใจ
6. สรุปผลการวิจัย
การให้นักศึกษาปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตระหนัก ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน ขั้นลงมือปฏิบัติงาน ขั้นตรวจสอบและประเมินผลงาน ขั้นปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน และขั้นปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจ มีผลทำให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีมีความรับผิดชอบและ รักงานที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนมีนิสัยที่ดี และมีความสุขใน การทำงาน
……………………………………………………