หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา ทช 0201 บัญชีชาวบ้าน
สาระทักษะการดำเนินชีวิต ระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวน 1 หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์
                          ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องบัญชีชาวบ้าน ดังนี้
              ความหมาย ประโยชน์ หลักการ แนวคิด รูปแบบและวิธีการทำบัญชีชาวบ้าน วิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย ให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือน การวางแผน
การประยุกต์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
              ศึกษาข้อมูล ตนเอง ข้อมูลวิชาการ เชื่อมโยงกับประสบการณ์เข้ากับความรู้และประสบการณ์      เพื่อนำมาวิเคราะห์และตัดสินใจในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้โดยศึกษาจากกรณีตัวอย่างที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สื่อทุกประเภท การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภูมิปัญญา และวางแผนการนำบัญชีชาวบ้านไปประยุกต์ใช้ในชีวิต

การวัดและประเมินผล
              ประเมินความรู้ ความเข้าใจ ประเมินแผนปฏิบัติการ โดยสังเกต สัมภาษณ์ ตรวจสอบ ประเมินการปฏิบัติจริง และประเมินสภาพจริง


รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ทช 0201 บัญชีชาวบ้าน
สาระทักษะการดำเนินชีวิต ระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวน หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถ
                           ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน
(ชั่วโมง)
1
บัญชีชาวบ้านง่าย
นิดเดียว
- อธิบายความหมายประโยชน์ และวิเคราะห์แนวคิด หลักการของบัญชีชาวบ้านได้
1. ความหมาย ประโยชน์ของ
การทำบัญชีชาวบ้าน
2. หลักการ แนวคิด การทำบัญชีชาวบ้าน
3. รูปแบบและวิธีการทำบัญชีชาวบ้าน (บัญชีในครัวเรือน
กับการประกบอาชีพ)
10
2
บัญชีชาวบ้านกับ
ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง

1. อธิบายแนวคิด หลักการของปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
2. วิเคราะห์บัญชีชาวบ้านให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. แนวคิด หลักการของปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง

2. บัญชีชาวบ้านตามหลักของ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

10
3
บัญชีชาวบ้านใน
ครัวเรือน
1. วิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายและทำบัญชีตนเอง บัญชีครัวเรือนได้
2. ตระหนักเห็นคุณค่าและนำหลักการและวิธีการทำบัญชีไปใช้ในชีวิต
ประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง
1. วิธีการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย
2. วิธีการทำบัญชีรับ-จ่าย
ของตนเองและครอบครัว
3. แนวทางการทำบัญชี
ครัวเรือนและการประกอบอาชีพอย่างง่าย
10

ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน
(ชั่วโมง)



4. การวางแผนการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อการประยุกต์ใช้ในครัวเรือนทางการประกอบอาชีพ

4
การลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
- กำหนดมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายของตนเองและครัวเรือนให้สมดุลกับรายรับสามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้
1. แนวคิดการกำหนด
มาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย
2. การลดรายจ่าย
    - การวิเคราะห์ รายรับ รายจ่าย
    - แนวทางการลดรายจ่าย
3. การเพิ่มรายได้และ
แนวทางการเพิ่มรายได้
4. การวางแผนการลดรายจ่าย
และเพิ่มรายได้ของตนเองและครอบครัว
10




คำอธิบายรายวิชา พท 2206 การเขียนจดหมายสมัครงาน
สาระความรู้พื้นฐาน (ภาษาไทย) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จำนวน หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
              วิธีการติดต่อสมัครงาน  ลักษณะของจดหมายสมัครงานที่ดี  หลักการเขียนจดหมายสมัครงาน  หลักฐานประกอบการสมัครงานที่ควรเตรียมไว้  เอกสารประกอบการสมัครงาน
และข้อพึงระวังในการเขียนจดหมายสมัครงาน

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
              ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับตัวอย่างประกาศรับสมัครงานที่รวบรวมมาในรายละเอียดที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน วิธีการเขียนและลักษณะสำนวนภาษา การลำดับข้อความในประกาศ และรวบรวมหรือคัดลอกข้อความประกาศรับสมัครงานจากหนังสือพิมพ์รายวัน ป้ายปิดประกาศในที่ต่าง ๆ หรือสื่ออินเทอร์เน็ต  ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสมัครงานที่รวบรวมมาได้แก่  แบบฟอร์มของบริษัทต่างๆ  จดหมายสมัครงาน  ใบรับรองการศึกษาและใบรับรองการทำงาน เป็นต้น
พร้อมกับให้ผู้เรียนฝึกเขียนสมัครงานจากตัวอย่างประกาศรับสมัครงานที่แนบมา

การวัดและประเมินผล
1. การสังเกต
2. การฝึกปฏิบัติ
3. การมีส่วนร่วมของผู้เรียน








รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา พท2206 การเขียนจดหมายสมัครงาน
สาระความรู้พื้นฐาน (ภาษาไทย) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จำนวน 1 หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน
(ชั่วโมง)
1
2
3

4

5


ความหมายของจดหมายสมัครงาน
วิธีติดต่อสมัครงาน
ลักษณะของจดหมายสมัครงาน
หลักการเขียนจดหมายสมัครงาน
รายละเอียดของสารที่ใช้ในการสมัครงานและการเขียนจดหมายสมัครงานตามรายละเอียดที่กำหนด
อธิบายความหมายของจดหมายสมัครงาน
อธิบายวิธีติดต่อสมัครงาน
อธิบายลักษณะของจดหมายสมัครงานที่ดีได้
เขียนจดหมายสมัครงานได้ถูกต้องตามหลักการเขียน
1. อธิบายรายละเอียดของสารที่ใช้ ในการสมัครงาน
2.  เขียนจดหมายสมัครงานตามรายละเอียดที่กำหนดให้ได้


ความหมายของจดหมาย
สมัครงาน
วิธีการติดต่อสมัครงาน
ลักษณะของจดหมายสมัครงาน   ที่ดี
หลักการเขียนจดหมายสมัครงาน

1.   หลักฐานประกอบการสมัครงานที่ควรเตรียมไว้
2.   เอกสารประกอบการ        สมัครงาน
3.   ข้อพึงระวังในการเขียนจดหมายสมัครงาน

2

5
5

6

6

6

10





คำอธิบายรายวิชา สค2204 การพัฒนาจิตและปัญญา
สาระการพัฒนาสังคม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จำนวน 2 หน่วยกิต (80 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่  5.2              มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า สืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
              1.  วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและ
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
              2. จุดประสงค์การทำสมาธิเพื่อพัฒนาจิตและปัญญา
              3.  อิริยาบถสำหรับการทำสมาธิ
              4.  ขั้นตอนการทำสมาธิอย่างง่าย
              5.  สมาธิกับการเรียนและการทำงาน
6.  ลักษณะต่อต้านสมาธิ
7.  ประโยชน์การทำสมาธิ
8.  การเจริญสติด้วยการพิจารณาอนิจจา   ทุกข์ขัง   อนัตตา
9.  วิธีการทำสมาธิพัฒนาจิตและปัญญาในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
จัดกิจกรรมการศึกษาความรู้จากสื่อ เอกสาร สื่อเทคโนโลยี ภูมิปัญญา องค์กร                  สถาบันสถานศึกษา จัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการทำสมาธิเป็นหมู่คณะและเดี่ยว ร่วมกิจกรรมทางศาสนา             การเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมนอกสถานที่ จัดกลุ่มอภิปราย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เผยแพร่และจัดปฏิบัติการเรียนรู้ การทำสติให้กับกลุ่ม/ชุมชนในพื้นที่

การวัดและประเมินผล
              ประเมินจากการทดสอบภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและตรวจสอบผลการปฏิบัติ  การทำสมาธิเดี่ยว


รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา สค2204 การพัฒนาจิตและปัญญา
สาระการพัฒนาสังคม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จำนวน 2 หน่วยกิต (80 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่  5.2              มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า สืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน
(ชั่วโมง)
1
การพัฒนาจิตและปัญญา
1. อธิบายเกี่ยวกับการวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้
2. อธิบายและเห็นคุณค่าจุดประสงค์การทำสมาธิเพื่อพัฒนาจิตใจและปัญญาได้
3. อธิบายเกี่ยวกับอิริยาบถสำหรับการทำสมาธิได้
4. อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน   การทำสมาธิอย่างง่ายและสามารถปฏิบัติได้
5. อธิบายและเห็นคุณค่าประโยชน์การทำสมาธิ  เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
6. อธิบายและตระหนักการเจริญสติด้วยการพิจารณา อนิจจัง  ทุกข์ขัง  อนัตตา



7. นำความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญามาปรับใช้ในการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและสามารถแนะนำการทำสมาธิอย่างง่ายให้กับกลุ่ม/ชุมชนได้
1. การวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม                     ยุคโลกาภิวัตน์



2. จุดประสงค์การทำสมาธิ     เพื่อพัฒนาจิตและปัญญา
    2.1  สมาธิตื้นและสมาธิลึก

3. อิริยาบถสำหรับการทำสมาธิ

4. ขั้นตอนการทำสมาธิอย่างง่าย
5. สมาธิกับการเรียน และ        การทำงาน
6.  ลักษณะต่อต้านสมาธิ
7.  การทำสมาธิอย่างง่าย


8.  การเจริญสติตามหลักไตรลักษณ์อนิจจัง  ทุกข์ขัง  อนัตตา
8.1  การพิจารณาธาตุ 4
8.2  การละขันธ์ 5
8.3  จิต-วิมุตติ-พระนิพพาน
9.  วิธีการทำสมาธิพัฒนาจิตและปัญญาในชีวิตอย่างต่อเนื่อง
9.1 จิตพระอรหันต์
9.2 อยู่ด้วยวิหารธรรม
80



คำอธิบายรายวิชา พค 2210 การประยุกต์ใช้อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในชีวิตประจำวัน
สาระความรู้พื้นฐาน (คณิตศาสตร์)  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จำนวน 1 หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
              การคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผลเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างง่าย การผ่อนชำระสินค้า การผ่อนชำระเงินกู้ การซื้อ การขาย สินค้า คือ การลดราคา การคิดกำไร การขาดทุน การคิดนายหน้า และการคิดภาษาเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
              จัดประสบการณ์ในชีวิตประจำวันให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า  โดยการปฏิบัติจริง   ทดลอง สรุปรายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ สามารถสร้างสรรค์งานต่างๆ  และออกแบบ รวมทั้งเห็นคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบมีระเบียบ มีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

การวัดและประเมินผล
              ใช้วิธีการที่หลากหลายตามสภาพความเป็นจริงให้สอดคล้องกับเนื้อหาและทักษะที่ต้องการวัดและประเมินผล  เช่น  การอภิปรายกลุ่ม การมีส่วนร่วมในกิจกรรม โครงงาน การนำเสนอผลงาน และการทดสอบย่อย










รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา พค 2210 การประยุกต์ใช้อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในชีวิตประจำวัน
สาระความรู้พื้นฐาน (คณิตศาสตร์)  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จำนวน 1 หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน
(ชั่วโมง)
1
การคิดดอกเบี้ยอย่างง่าย


ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการคิดดอกเบี้ยได้

การคำนวณดอกเบี้ย

6




2
ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในชีวิตประจำวัน
ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการคิดการผ่อนชำระสินค้า และเงินกู้ได้

การผ่อนชำระ
-  สินค้า
-   เงินกู้

12

3.
การซื้อ การขายสินค้า
ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการซื้อ และ
การขายสินค้าได้

การคำนวณการซื้อ การขายสินค้า
-  ลดราคา
-  กำไร
-  ขาดทุน
-  นายหน้า

12

4
การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษามูลค่าเพิ่ม
ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่มได้

การคิดภาษี
-  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-  ภาษีมูลค่าเพิ่ม
10


คำอธิบายรายวิชา พว 0213 สารพิษในชีวิตประจำวัน
สาระความรู้พื้นฐาน(วิทยาศาสตร์) ระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวน  1  หน่วยกิต  ( 40  ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
การเข้าสู่ร่างกายและความเป็นพิษของสาร ประเภทและชนิดของสารพิษในครัวเรือนและอาชีพ สารพิษจากครัวเรือน ผลกระทบที่เกิดจากสารพิษในครัวเรือน และสารพิษที่เกิดจากอาชีพที่มีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ทดลอง จำแนก อธิบาย อภิปราย นำเสนอด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม การเรียนรู้แบบทางไกล แบบชั้นเรียน  ตามอัธยาศัย  การสอนเสริม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำรายงาน การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ ประสบการณ์โดยตรง ใช้สถานการณ์จริง   ประสบการณ์การเรียน  และการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

การวัดและประเมินผล
การสังเกต การอภิปราย การสัมภาษณ์ ทักษะปฏิบัติ รายงานการทดลอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ผลงาน การทดสอบ การประเมิน และการนำไปใช้ประโยชน์














คำอธิบายรายวิชา พว 0213 สารพิษในชีวิตประจำวัน
สาระความรู้พื้นฐาน(วิทยาศาสตร์) ระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวน  1  หน่วยกิต  ( 40  ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน(ชั่วโมง)
1
สารพิษในชีวิตประจำวัน
1.อธิบายการเข้าสู่ร่างกายและความเป็นพิษของสารได้
2. บอกประเภทและชนิดของสารพิษในครัวเรือนและอาชีพได้
3. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากสารพิษในครัวเรือน  และสารพิษที่เกิดจากอาชีพที่มีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้
1.  ความเป็นพิษ
2.  สารพิษและการเข้าสู่ร่างกาย
3.  สารพิษในชีวิตประจำวัน
  3.1  สารพิษจากครัวเรือน
         3.1.1  สารทำความสะอาด(สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ยาสีฟัน น้ำยาล้างห้องน้ำ)
3.1.2  สารซักล้าง(ผงซักฟอก  สบู่)
          3.1.3  ภาชนะ
          3.1.4  สารฆ่าแมลง  เช่น  ยาฆ่าแมลง 
                   ฯลฯ
  3.2  เกษตรกรรม     
       3.2.1 สารกำจัดศัตรู พืชและสัตว์
        3.2.2 สารเร่งเนื้อแดง
        3.2.3 สารเร่งการเจริญเติบโต
                ฯลฯ
  3.3  เครื่องสำอาง
  3.4  น้ำยาดับกลิ่นและ     สเปรย์ปรับอากาศ
  3.5  อุตสาหกรรม
  3.6  ของเด็กเล่น
         ฯลฯ
4.  สารพิษจากอาชีพ
5.  ผลกระทบที่มีต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไข
40



10
คำอธิบายรายวิชา ทร0203 ทักษะการตัดสินใจ
สาระทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวน 1 หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
              ความหมาย ความสำคัญของทักษะการตัดสินใจ องค์ประกอบของการตัดสินใจ กระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจ ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการตัดสินใจ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเองเพื่อสร้างทักษะการตัดสินใจ และการฝึกทักษะการตัดสินใจ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
              ควรจัดในลักษณะของการบูรณาการทักษะต่าง ๆ ไปพร้อมกับการสร้างสถานการณ์ในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจ และมีเจตคติ  ที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองประสบความสำเร็จ และนำความรู้ไปใช้ในวิถีชีวิตให้เหมาะสมกับตนเอง และชุมชน สังคม

การวัดและประเมินผล
              ใช้การประเมินจากสภาพจริงของผู้เรียนที่แสดงออกเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจทักษะการคิด ตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาของตนเอง











11
รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ทร 0203 ทักษะการตัดสินใจ
สาระทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวน 1 หน่วยกิต (40 ชั่วโมง)

ที่
หัวเรื่อง
ตัวชี้วัด
เนื้อหา
จำนวน
(ชั่วโมง)
3
ทักษะการตัดสินใจ
1. ตระหนักและเห็น
ความสำคัญของการมีทักษะการตัดสินใจ
2. รู้เข้าใจและบอกขั้นตอนเกี่ยวกับองค์ประกอบและ
กระบวนการตัดสินใจ
3. บอกหรืออธิบายปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการตัดสินใจ
4. สามารถใช้ทักษะการคิด ตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้
1. ความหมาย ความสำคัญของทักษะการตัดสินใจ
2. องค์ประกอบของการตัดสินใจ
3. กระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจ
4. ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการ
ตัดสินใจ
5. การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เพื่อสร้างทักษะการตัดสินใจ
6. การฝึกทักษะการตัดสินใจ
40



กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720