บรอกโคลีช่วยเสริมการทำงานของยีนที่ทำหน้าที่เปิด กลไกกำจัดสารพิษ เป็นประโยชน์ป้องกันไม่ให้เกิดโรคปอดร้ายแรง
นักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์จอห์นส ฮอพกินส์ ของสหรัฐ นำทีมโดย ดร.ชีแอม บิสวัล ศึกษาพบสารในผักบรอกโคลี อาจช่วยยับยั้งการทำลายที่นำไปสู่การเป็นโรคปอดร้ายแรงที่เรียกว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obsructive pulmonary disease-COPD) ได้
ทั้งนี้ โรคซีโอพีดีมักมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่และคร่าชีวิตผู้ป่วยไปเป็นจำนวนมาก เฉพาะในอังกฤษมีผู้จบชีวิตเพราะโรค ดังกล่าวเป็นจำนวนประมาณ 30,000 คนต่อปี และจากการศึกษาล่าสุดนักวิจัยได้พบว่าสารซัลฟอราเพน (Sulforapane) ของบรอกโคลีไปส่งเสริมให้ยีน NRF2 ในเซลล์ปอดมนุษย์ทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น จึงช่วยป้องกันเซลล์ดังกล่าวถูกทำลายจากพิษต่างๆ ได้ ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ และป่วยเป็นโรคซีโอพีดีระยะก้าวหน้าจึงมีการทำกิจกรรมของยีน NRF2 ในระดับต่ำกว่ากลุ่มอื่น
ซึ่งยีนดังกล่าวทำหน้าที่เปิดให้กลไกหลายอย่างเพื่อขับพิษและสารก่อมลพิษต่างๆทำงาน เพื่อไม่ให้สารพิษเหล่านั้นทำลาย เซลล์ปอด
ก่อนหน้านี้เคยมีการศึกษากับหนูพบว่าเมื่อยับยั้งการทำงานของยีน NRF2 ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองเร็วกว่าปรกติ ซึ่ง เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบในผู้ป่วยซีโอพีดี
นักวิจัยเปิดเผยว่า การวิจัยนี้ทำให้เกิดความหวังว่าวิธีเพิ่มกิจกรรมของยีน NRF2 อาจช่วยชะลอการก้าวหน้าของโรคซีโอพีดี ได้ ซึ่งในอนาคตอาจศึกษาเพิ่มเติมต่อโดยพุ่งเป้าที่ยีน NRF2 เพื่อดูการปกป้องปอดด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และทดสอบความ สามารถในการปรับปรุงการทำงานของปอดในผู้ป่วยซีโอพีดี
สำหรับการศึกษาที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ได้พบเช่นกันว่าสารจากบรอกโคลีชนิดเดียวกัน หรือซัลฟอราเพนสามารถช่วย ป้องกันการทำลายหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ผักในตระกูลกะหล่ำยังมีความสัมพันธ์ช่วยลดความเสี่ยงเกิด ภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองหรือ Strokes ได้ด้วย
เพราะฉะนั้นก็อย่าลืมหันมาทานผักกันเยอะ ๆ นะคะ เพื่อสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรง