หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



นิวเคลียร์ฟิวชั่น

นิวเคลียร์ฟิวชั่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น (อังกฤษ: Nuclear fusion) ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ คือกระบวนการที่นิวเคลียสอะตอมหลายตัวมารวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสอะตอมที่หนักขึ้น และเกิดการปลดปล่อยหรือดูดซับพลังงานในกระบวนการนี้ นิวเคลียสของเหล็กและนิกเกิลมีพลังงานพันธะต่อนิวคลีออนสูงมาก ฟิวชั่นของนิวเคลียสทั้งสองชนิดกับธาตุอื่นที่มีมวลน้อยกว่าเหล็กจะทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมารุนแรงกว่าที่เหล็กจะดูดซับพลังงานไว้ กระบวนการที่ดำเนินไปในทางกลับกันนี้จะเรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear fission)

โดยมากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นมักเกิดขึ้นในดาวฤกษ์ มนุษย์อาจสร้างเครื่องมือเพื่อผลิตพลังงานฟิวชั่นขึ้นก็ได้ แต่ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ มีการค้นพบฟิวชั่นของนิวเคลียสมวลเบา (ไอโซโทปของไฮโดรเจน) โดย มาร์ก โอลิแฟนท์ ในปี ค.ศ. 1932 ส่วนกระบวนการหลักของการเกิดนิวเคลียร์ฟิวชั่นในดาวฤกษ์มีการศึกษาและอธิบายโดย ฮานส์ เบเท่อ (Hans Bethe) ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษนั้น งานวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชั่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารเริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1940 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนฮัตตัน แต่กว่าจะสำเร็จก็ล่วงมาถึง ค.ศ. 1952 สำหรับการวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชั่นเพื่อประโยชน์ทางพลเรือนเริ่มในคริสต์ทศวรรษ 1950 และยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720