ข้อมูลคะแนนทดสอบความสามารถ IQ
คะแนนที่นักศึกษาทำได้ เพื่อให้ครูสามารถจัดกลุ่มนักศึกษาตามเกณฑ์ความสามารถ เพื่อให้เหมาะแก่การจัดรูปแบบการสอน ได้ง่ายขึ้น
*จำเป็น
ข้อมูลคะแนนทดสอบความสามารถ IQ
คะแนนที่นักศึกษาทำได้ เพื่อให้ครูสามารถจัดกลุ่มนักศึกษาตามเกณฑ์ความสามารถ เพื่อให้เหมาะแก่การจัดรูปแบบการสอน ได้ง่ายขึ้น
*จำเป็น
หน้าแรกจะเห็นแบบนี้ เลือกภาษา English
(ในแบบทดสอบไม่มีภาษาจะเป็นเฉพาะรูปภาพ)
เลือกภาษาแล้วเข้าไปก็จะเจอหน้านี้
กด Start ปุ่มขวาสุดเลยครับ
จากนั้นจะเจอหน้านี้ครับ
ข้อสอบจะอธิบายว่ามีเวลา ๔๐ นาที มีคำถาม ๓๙ ข้อ
ความยากจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อย
ทำเสร็จเร็วกว่าเวลาที่ให้ ก็ไม่มีคะแนนพิเศษ
ทำผิดก็ไม่หักคะแนนครับ (ฉะนั้นเดาไปดีกว่าเว้นไว้)
เมื่อกด Start ก็จะเริ่มข้อ ๑ นะครับ
หน้าตาแบบทดสอบจะเป็นประมาณนี้ครับ
ระหว่างใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนไปข้อต่อไปหรือ
เลื่อนย้อนกลับมาข้อที่ทำแล้วก็ได้ครับ
เมื่อทำเสร็จแล้วให้เลื่อนเมาส์มาที่คำว่า Menu
และกด Send ครับ
________________________________________________________________________
ความฉลาดทางปัญญา หรือที่เราเรียกกันว่า“ไอคิว” นั้น เชื่อว่าทุกคนรู้จักคำคำนี้ แต่หลายคนที่เกิดมาไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าไอคิวของตัวเองเท่าไร เพราะไม่เคยวัด ซึ่งอาจมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วคนทั่วไปจะทราบได้อย่างไรว่าไอคิวของตัวเอง เท่าไหร่ เขาวัดไอคิวกันอย่างไร หรือจะเริ่มวัดไอคิวได้ตั้งแต่เมื่อไร ใครที่ต้องวัดไอคิวบ้าง ?
เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ “X-RAY สุขภาพ” จึงมาพูดคุยกับ พ.ญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ผอ.สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.)
พ.ญ.จันทร์เพ็ญ อธิบายว่า “ไอคิว” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Intelligence Quotient เป็นระดับสติปัญญาหรือเชาวน์ปัญญาของคน เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมส่วนหนึ่ง ซึ่งจะถือว่าเป็นต้นทุนของแต่ละคน และอีกส่วนหนึ่งคือ ได้รับการกระตุ้นหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของสมองหรือไม่ ถ้ากระตุ้นน้อย แม้มีต้นทุนดี สมองก็ไม่พัฒนาเต็มตามความสามารถ เด็กก็จะมีไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังเช่นที่เกิดกับไทยในทุกวันนี้
ไอคิวปกติค่าที่วัดได้จะอยู่ประมาณ 90-110 แต่สำหรับคนที่มีไอคิวสูงหรือมีความฉลาดมาก ค่าที่วัดได้จะอยู่ประมาณ 120-130
ไอคิวจึงเป็นหน่วยคะแนนที่ใช้วัดอายุสมองกับอายุจริง คือ เป็นการวัดระดับการเรียนรู้ และสติปัญญา เพื่อดูว่าระดับการเรียนรู้หรือพัฒนาการสมองอยู่ระดับไหนเมื่อเทียบกับอายุจริง สมมุติว่า วัดไอคิวได้ 100 หมายความว่า อายุสมองเท่ากับอายุจริง เช่น ถ้าอายุ 20 ปี แสดงว่าอายุสมองคือ 20 เช่นกัน แต่ถ้าวัดไอคิวได้ต่ำกว่า 100 แสดงว่าอายุสมองต่ำกว่าอายุจริง หรือถ้าวัดไอคิวได้มากกว่า 100 แสดงว่า อายุสมองมากกว่าอายุจริง
ถามว่าเราจะวัดไอคิวได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่มีการศึกษาคือตั้งแต่ 6 ขวบ ขึ้นไป เพราะมีระดับหรือเกณฑ์ในการเทียบเคียง ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ลงไปเราจะไม่เรียกว่าเป็นการวัดไอคิว แต่จะเรียกว่าระดับพัฒนาการเมื่อเทียบกับอายุจริง หรือ ดีคิว (Development Quotient) เช่น ในเด็กอายุ 5 ขวบ ควรจะมีพัฒนาการตามวัย แต่ปรากฏ ว่าเด็กทำได้มาก กว่าแสดงว่ามีระดับพัฒนาการสูงกว่าอายุจริง แต่ถ้าอายุ 5 ขวบ แล้วยังไม่สามารถทำอะไรได้ ตามวัยแสดงว่าระดับพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย
ในการวัดพัฒนาการของเด็ก อายุต่ำกว่า 6 ขวบ จะประเมินตั้งแต่แรกเกิด โดยดูว่าเด็กมีพัฒนาการตามช่วงอายุหรือไม่ เช่น การชันคอ การพลิกคว่ำ พลิกหงาย การนั่ง การยืน การเดิน การพูดคำแรกที่มีความหมาย เช่น คำว่า “แม่” คำว่า “พ่อ” การหยิบจับสิ่งของโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเหมือนผู้ใหญ่หยิบจับ มิใช่ใช้วิธีกำสิ่งของ ความสามารถเหล่านี้จะเป็นตัววัดพัฒนาการทางสมองของเด็กว่าเป็นไปตามอายุหรือไม่
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องการพูดคำแรกที่มีความหมายในต่างประเทศพูดได้ตอน 8 เดือน แต่เด็กไทยพูดได้เมื่ออายุประมาณ 11 เดือน หรือ 1 ขวบ ตรงนี้ก็ต้องมาฉุกคิดว่า ทำไมเด็กไทยพูดช้ากว่าเด็กฝรั่ง แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยไม่ได้ให้ความสนใจการกระตุ้นให้เด็กพูด ตรงนี้จะทำให้การเรียนรู้ช้า เพราะภาษาเป็นฐานสำคัญของการเรียนรู้ หากไม่กระตุ้นเรื่องการใช้ภาษา การเข้าใจภาษา ปล่อยตามมีตามเกิดพูดไม่ได้ก็ไม่เป็นไร พอไปเรียนก็ยิ่งช้าใหญ่
เมื่อเด็กโตขึ้นการวัดไอคิวจะไม่ทำพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น แต่จะวัดไอคิวกรณีที่มีข้อบ่งชี้เป็นราย ๆ ไป เช่น เด็กบางคนไปโรงเรียนแล้วเรียนหนังสือไม่รู้เรื่องเหมือนกับเพื่อนคนอื่น ๆ มีปัญหามาก กรณีเช่นนี้ทางโรงเรียนอาจไปปรึกษาพ่อแม่เพื่อส่งเด็กไปให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบภาวะการเรียนรู้ของสมอง จะได้รู้ว่าเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองหรือไม่ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม
เด็กบางคนเมื่อวัดไอคิวออกมาแล้วต่ำมาก เรียนหนังสือไม่ได้เหมือนกับเพื่อน เช่น อายุ 9 ขวบ ต้องเรียน ป.3 แต่วัดไอคิวออกมาแล้วอายุสมองเท่ากับเด็ก 7 ขวบ ถ้ายังนั่งเรียนกับเด็ก 9 ขวบต่อไปต้องมีปัญหาแน่ ดังนั้นทางออก คือ ให้เด็กคนดังกล่าวเรียนคละชั้นกับเด็กอายุ 7 ขวบ สมองใกล้เคียงกันจะได้ไม่มีปัญหา เด็กคนดังกล่าวก็ยังเรียนหนังสือได้เพียงแต่ว่า เรียนช้ากว่าเพื่อนที่อายุเท่ากัน และไม่ควรมีการให้เด็กตกซ้ำชั้น แต่ครูควรประเมินว่าเด็กมีความสามารถในระดับใด และจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสมองของเขา ช่วยเหลือให้เขาพัฒนาได้สมวัย
หลักสำคัญในการวัดไอคิวก็เพื่อ แก้ไขปัญหาให้กับเด็กที่มีปัญหา เรียนหนังสือไม่ได้ เราจะไม่วัดไอคิวเป็นรายบุคคลเพื่อบอกว่าเด็กคนนี้ฉลาด เด็กคนนี้โง่ คนนี้เรียนหนังสือได้หรือไม่ได้ แต่การวัดไอคิวในเด็กจำนวนมากพร้อมกันเพื่อดูระดับความสามารถของเด็กโดยเฉลี่ยเพื่อจะบอกว่า ระดับสติปัญญาของเด็กโดยรวมเป็นอย่างไร และควรจะแก้ไขอย่างไร ถ้าไม่วัดเลยก็จะไม่รู้ว่าไอคิวของเด็กไทยเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเด็กชาติอื่น
การวัดไอคิวเด็กโดยไม่มีข้อบ่งชี้ อาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ สมมุติว่าพ่อแม่อยากรู้ไอคิวลูกก็พาไปทดสอบ ซึ่งถ้ารู้ว่าไอคิวลูกต่ำ ความรู้สึกของพ่อแม่บางคนอาจรับไม่ได้คิดว่าลูกโง่ สมองไม่ดี เพราะคาดหวังว่าลูกต้องฉลาดเฉลียว ก็เสียใจ และพยายามที่จะทำทุกวิถีทางจนกลายเป็นความเครียดทั้งพ่อแม่และลูก ซึ่งยิ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก หรือพ่อแม่บางคนอาจจะปล่อยปละละเลยลูกไปเลย คือ ปลง เรียนไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวพ่อแม่เลี้ยงเอง แบบนี้ก็มี ดังนั้นการรู้ระดับไอคิวของลูก พ่อแม่จะต้องรู้อย่างมีสติ และไม่ควรนำเด็กไปทดสอบไอคิวพร่ำเพรื่อ
ดังนั้นการวัดไอคิวต้องมีวัตถุประสงค์ ไม่ใช่ใครอยากวัดก็วัดโดยการไปเปิดดูเว็บไซต์แล้วก็วัด ต้องถามว่ารู้แล้วจะเอาไปทำอะไร เพราะถ้าวัดแล้วปรากฏว่า ไอคิวสูง แต่ไม่อ่านหนังสือไม่ค้นคว้าเพิ่มเติมอาจจะโง่กว่าคนอื่นก็ได้ การวัดไอคิวจากแบบทดสอบทางเว็บไซต์ หรือหนังสือที่ทำออกมาขายจึงเป็นเพียงแค่เรื่องสนุก ๆ เท่านั้น
สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดจะเป็นแบบทดสอบที่เป็นมาตรฐานมีประมาณ 45 ข้อ สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ขึ้นกับความสามารถในการใช้ภาษา จะพูดภาษาไทย ภาษาอีสาน หรือมุสลิม ก็ทดสอบได้หมด เป็นแบบทดสอบที่วัดเรื่องการคิด การเข้าใจตรรกะ เหตุผล โดยจะดูว่าสมองคุณคิดอย่างไร เข้าใจเรื่องนี้หรือไม่
เมื่อวัดไอคิวออกมาแล้วถ้าพบว่าอายุสมองต่ำกว่าอายุจริงมิใช่ว่าจะหมดหวังเสียทีเดียว เพราะไอคิวสามารถพัฒนาขึ้นได้ ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะอยู่ตรงนั้นตลอดไป ถ้าเราสามารถจัดกระบวนการต่าง ๆ ที่จะช่วยเด็ก ๆ คือ สิ่งแวดล้อมดี เด็กได้รับการกระตุ้นที่ดี ไอคิวก็จะสูงขึ้นได้ ปกติอายุของสมองโดยธรรมชาติมันจะไปตามอายุของเรา ถ้าไปไม่ได้แสดงว่ามีปัญหา ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากกระบวนการจัดการของสังคม ทำให้เด็กเข้าถึงการเรียนรู้ไม่ได้ดี ทำให้เด็กเบื่อเรียน เพราะสังคมเราไม่ได้ทำให้เด็กเข้าใจการเรียนรู้ที่ดี เราให้วิธีการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้องกับเด็ก แบบนี้จะทำให้วงจรการเรียนรู้ในสมองของเรามีปัญหา ไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างที่ควรจะเป็น
นอกจากเด็กที่มีไอคิวต่ำมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้แล้ว ขณะเดียวกันในเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอายุสมองมากกว่าอายุจริง เช่น อายุสมอง 12 แต่เขาอยู่ ป. 3 ต้องไปเรียนกับเด็ก 9 ขวบ กรณีนี้แบบนี้เด็กก็ไม่อยากเรียน ซึ่งในบ้านเราก็มีเด็กที่เป็นเด็กอัจฉริยะแล้วถูกจัดให้เรียนกับเด็กที่อายุสมองน้อยกว่าตัวเอง ทำให้เด็กเบื่อ ไม่สนใจเรียน กลายเป็นว่าเด็กไม่เรียนหนังสือ ทั้งที่สมองเขาดีมาก แต่ครู หรือพ่อแม่ไม่รู้ และไม่เข้าใจ ก็อาจคิดว่าเด็กเกเร
พ.ญ.จันทร์เพ็ญ กล่าวว่า ถ้าพูดเรื่องไอคิว พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้กันมากนัก อย่างตัวของหมอก็มีพ่อแม่ถามอยู่เรื่อยว่าจะเอาลูกไปวัดไอคิวได้ที่ไหน หมอก็บอกไปว่า ถ้าลูกปกติไม่ต้องไปวัด สังเกตจากพฤติกรรมก็ได้ ยกเว้นลูกมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้จริง ๆ ค่อยวัดไอคิว แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่น่าห่วงคือพ่อแม่ที่ลูกมีพัฒนาการช้ามักจะไม่รู้ว่าลูกมีพัฒนาการช้า บางครอบครัวดูแลลูกไม่ถูกต้อง การกระตุ้นการเรียนรู้ไม่เหมาะสม เลี้ยงแบบตามมีตามเกิดหรือมีความเชื่อที่ผิด ๆ เช่น เด็กเล็กอย่าไปสอนอะไรมากเดี๋ยวเขาทำของเขาเองได้ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง คนไทยจะเป็นแบบนี้มาก ลูกอายุ 2 ขวบยังไม่พูด บางคนก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวลูกก็พูดเอง การที่เด็กไม่พูดแสดงว่าพ่อแม่พูดกับลูกน้อยไป ทำให้เด็กไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ เมื่อไม่มีใครสอนเด็กก็จะพูดช้าตรงนี้น่าเป็นห่วง สังคมไทยควรหันมาสนใจเรื่องการพัฒนาสมองเด็กอย่างจริงจัง ซึ่งจะถือว่าการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตามพัฒนาการเด็กนั้นจะเป็นรากฐานสำคัญในการที่จะพัฒนาลูกเราให้เก่ง และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ.
_________________________________________________________________________________