หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



วิชาอาเซียนศึกษา

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับอาเซียน 

ASEAN ย่อมาจากอะไร

-Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง

-5  ประเทศ  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย

 ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

-กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว

อาเซียน +3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

-กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น

อาเซียน +6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

-กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์

คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร

-หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน

-ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง








รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและ
ความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน
สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง

สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว     หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง

 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง

-1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด

-กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด

-ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

 กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

-กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและ
โครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคม
อาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ
มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720