หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



ข้อสอบการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมปัจจุบัน

 ข้อสอบการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมปัจจุบัน
  1. บทประพันธ์ต่อไปนี้ใช้โวหารชนิดใด
    “ครั้นถึงเนินนทรายชายทุ่ง แว่นแคว้นแดนกรุงดาหา
    จึงให้หยุดกองทัพตั้งพลับพลา ที่ต้องนามครุฑาเกรียงไกร
    แล้วบัญชาให้ตำมะหงง ท่านจงรีบเข้าไปกรุงใหญ่
    ทูลศรีปัตหราเรืองชัย แก้ไขอย่าให้เคืองบาทา”
    1.   บรรยาย
    2.   อธิบาย
    3.   เทศนา
    4.   พรรณนา
  2. “มองซิมองทะเลเห็นลมคลื่นเห่จูบหิน บางครั้งมันบ้าบิ่นกระแทกหินดังครืน ๆ ใช้สำนวนโวหารแบบใด



    1.   บุคลาธิษฐาน
    2.   อธิพจน์
    3.   อุปมาอุปไมย
    4.   การใช้สัญลักษณ์
  3. ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดไม่อาจอนุมานได้
    " สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว ความสัมพันธ์ของ สมาชิกในครอบครัวจึงไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร "
    1.   ครอบครัวส่วนมากพ่อแม่ทำงานนอกบ้าน
    2.   สมาชิกของครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันน้อย
    3.   พ่อแม่ไม่มีเวลารับฟังปัญหาของลูก
    4.   เวลาส่วนใหญ่ของลูกอยู่กับเพื่อนที่โรงเรียน
  4. รางวัลที่มอบให้แก่ผู้เขียนวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียนคือรางวัลใด
    1.   รางวัลแมกไซไซ
    2.   รางวัล ซีไรต์
    3.   รางวัลโนเบล
    4.   รางวัลออสการ์
  5. ข้อใดเป็นใจความสำคัญของข้อความต่อไปนี้
    " ความตายเป็นเพียงการเดินทางไปสู่บ้านหลังใหม่ ไม่มีใครเคย “ตาย” ไปจากหัวใจของคนที่รัก ตราบใดที่เรายังระลึกถึง คนที่เรารักก็ยังคง “มีชีวิต” อยู่ตราบนั้น ไม่มีวันแตกดับไปตามกาลเวลา "
    1.   ผู้ที่ตายแล้วยังมีผู้ระลึกถึงอยู่เสมอ
    2.   ผู้ตายยังคงอยู่ ในใจของผู้ที่รักเขา
    3.   ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพบ
    4.   การตายเป็นการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่
  6. ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของผู้แต่งคำประพันธ์ต่อไปนี้
    บ้านเมืองลำบากยากเข็ญ หนุ่มสาวยังเล่นขายข้าวของ
    บ้านเมืองเร่งหาปัญญาครอง หนุ่มสาวยังฉลองไม่เลิกรา
    ขึ้นอุดมศึกษายังทารก โลกแข่งขันสกปรกไม่รอท่า
    พวกกินเมืองย่อมยินดีปรีดา เมืองนี้นักศึกษาไม่ยอมโต

    1.   ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันบ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤต
    2.   ต้องการเห็นนักศึกษาเป็นปัญญาชนที่แท้จริง
    3.   ชี้ให้เห็นปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
    4.   ต้องการให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของกิจกรรม
  7. ข้อใดสื่อจินตภาพต่างกับข้ออื่น
    1.   เสนาะเสียงสังคีตประณีตฉ่ำ
    2.   วะแว่วเพียงเสียงพ้อซอสายเอก
    3.   ประกายพรึกกะพริบพลิ้วพ้นทิวไม้
    4.   ทั้งทุ้มต่ำเรื่อยจะเจื้อยแจ้ว
  8. ประโยคใดไม่กำกวม
    1.   ถ้าเขาตกลงไปคุณจะเสียใจ
    2.   เขาเหยียบแก้วแตก
    3.   เขาไปเชียงใหม่กับเพื่อนอีกสองคน
    4.   ใครตามหมอมา
  9. ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ต่อไปนี้
    " ฝนเป็นสายปรายโปรยเมื่อใกล้ค่ำ ฟ้าร่ำคำรณอยู่เลื่อนลั่น
    แปลบประกายปลายคุ้งทุ่งสุพรรณ ลมกระชั้นกระโชกกระชากแรง "
    1.   เสียง
    2.   สี
    3.   การเคลื่อนไหว
    4.   แสง
  10. คำว่า "วรรณคดี" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่าอย่างไร
    1.   หนังสือที่มีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและศิลปะการแต่ง
    2.   หนังสือดี
    3.   หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
    4.   แนวทางแห่งหนังสือ
  11. ข้อใดคือวรรณกรรมปัจจุบัน
    1.   ถ้าจะใช้เวลาเป็นเครื่องกำหนดความเป็นปัจจุบัน ก็อาจจะต้องนับทวนถอยหลังขึ้นไปจากขณะนี้ทุกรอบ 10 ปี จนถึงประมาณ พ.ศ. 2400
    2.   วรรณกรรมที่มีลักษณะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะรับอิทธิพลจากวรรณกรรมหรือแนวคิดของชาวตะวันตก มีขอบข่ายคลุมถึง
    3.   วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 10 - 20 ปี โดยการนับทวนถอยขึ้นไปจากปัจจุบัน
    4.   ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
  12. ข้อใดไม่ใช่สำนวนภาษาต่างประเทศ
    1.   วิธีทำไม่ยาก เมื่อผักสุกตักออกแช่น้ำเย็น เพื่อหยุดการสุกของผัก
    2.   โรงเรียนควรกระตุ้นผู้ปกครองให้ช่วยกันเอาใจใส่เรื่องการเรียนของลูกหลาน
    3.   โรคตับอักเสบในผู้ใหญ่มีอาการรุนแรงและเป็นนานกว่าเด็กเล็ก
    4.   เราควรเลือกซื้อผักที่มีรูพรุนจากการถูกแมลงกัดกินบ้างจะดีกว่า
  13. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้โวหารแบบใด
    " ณ ร่มไม้สาละพนาสัณฑ์ นามสุมพินีวันมหาสถาน
    พระนางเริ่มเจ็บครรภ์มิทันนาน ประสูติกาลพระโอรสแสนงดงาม
    วิสาขะวันเพ็ญเพลาเลิศ พระกุมารผู้ประเสริฐแห่งโลกสาม
    บัวบูชารองพระบาทยาตราตาม บุญญายามจิตพร้อมน้อมประณต "
    1.   พรรณนาโวหาร
    2.   สาธกโวหาร
    3.   บรรยายโวหาร
    4.   เทศนาโวหาร
  14. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้พูด " แม้ว่าฉันจะตายในการรับใช้ชาติ ฉันก็รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะเลือดทุกหยดที่รินรดออกมาจะสร้างความเจริญให้ประเทศชาติ และก่อให้เกิดความเข้มแข็งอันทรงพลัง "
    1.   ความซื่อสัตย์
    2.   ความมุ่งมั่น
    3.   ความเสียสละ
    4.   ความรับผิดชอบ
  15. ข้อใดคือความหมายของการอ่านเพื่อการศึกษา
    1.   อ่านให้ละเอียด อ่านแล้วคิด คิดแล้วกรอง
    2.   อ่านหนังสือประกอบอื่นๆเพื่อเสริมความรู้ ก่อนนำมาประเมินค่า
    3.   ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
    4.   แยกแยะส่วนที่ดีและบกพร่องอย่างมีเหตุผล
  16. ข้อใดไม่ใช่แบบแผนวรรณกรรมปัจจุบัน
    1.   แสวงหาข้อเท็จจริง ข้อมูล ก่อนเขียนเรื่องไม่นิยมเลียบแบบ นิยมสร้างโครงเรื่องด้วยตนเองเป็นการแสดงฝีมือให้เห็นชัด
    2.   นิยมร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้วและมีความยาว มาก
    3.   นิยมร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง หากเป็นร้อย กรองนิยมร้อยกรองสั้น ๆ
    4.   ฉาก ตัวละคร บรรยากาศ มักจะนำมาจาก ชีวิตจริง
  17. “จะเอาโลกมาทำปากกา จะเอานภามาแทนกระดาษ


    เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศพระคุณไม่พอ”
    1.   การใช้สัญลักษณ์
    2.   อุปมาอุปไมย
    3.   บุคลาธิษฐาน
    4.   อธิพจน์
  18. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสารคดี
    1.   ต้องชักนำความคิดของผู้อ่าน
    2.   ต้องเสนอเรื่องราว
    3.   ต้องให้ความบันเทิงชวนอ่าน
    4.   ต้องเป็นเรื่องสมมุติ
  19. ข้อใดเป็นสารคดีประเภทท่องเที่ยว
    1.   เทียนวรรณวิจารณ์
    2.   โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
    3.   พระราชพิธีสิบสองเดือน
    4.   ไกลบ้าน
  20. เรื่องสั้นของไทยมีวิวัฒนาการมาจากข้อใด
    1.   ผิดทุกข้อที่กล่าวมา
    2.   การแต่งนิยาย
    3.   การแต่งเพลง
    4.   การแต่งกลอน
  21. ข้อใดเป็นใจความสำคัญของคำกลอนที่ต่อจากคำกลอนต่อไปนี้
    ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล
    จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จงคิดอ่านแก้จนเป็นคนมี
    1.   จะไม่จนถ้าเป็นคนรู้จักพอ
    2.   ไม่มีใครปรารถนาความจน
    3.   ต้องรู้จักหาวิธีแก้จน
    4.   จนทรัพย์แล้วอย่าจนความคิด
  22. วรรณกรรมไทยปัจจุบัน หมายถึง งานเขียนทุกชนิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัชสมัยใด
    1.   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2.   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    3.   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    4.   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  23. ประโยคในข้อใดต้องการคำตอบ
    1.   ใครอยากไปก็ไปได้
    2.   อะไร เธอจะให้ฉันอยู่คนเดียวจริง ๆ หรือ
    3.   ทำไมฉันจะต้องบอกเธอด้วย
    4.   ไหนจะเก่งเหมือนเธอล่ะ
  24. ประโยคใดวางส่วนขยายถูกต้อง
    1.   การอ่านเป็นปุ๋ยอย่างดีที่บำรุงสมองเด็ก
    2.   เขาเริ่มพัฒนาอย่างเร่งรีบเรื่องสาธารณูปโภคในหมู่บ้าน
    3.   ครูเป็นทรัพยากรบุคคลในการส่งเสริมการศึกษาที่สำคัญ
    4.   ห้ามเด็ดขาดนั่งหลังคารถไฟ
  25. " ดอกเอ๋ยเจ้าดอก................ คนไหนครวญคร่ำต้องชอกช้ำใจเอย " บทประพันธ์นี้คววรใช้ดอกไม้ชนิดใดเติมในช่องว่างจึงจะได้ความสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

    1.   ดอกระกำ
    2.   ดอกกล้วยไม้
    3.   ดอกชบา
    4.   ดอกบานชื่น
  26. วรรณคดีปัจจุบันได้รับอิทธิพลมาจาก
    1.   ลังกา
    2.   ยุโรป
    3.   จีน
    4.   อินเดีย
  27. นวนิยายในข้อใดคือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์
    1.   กาเหว่าที่บางเพลง
    2.   ไผ่แดง
    3.   แม่นาคพระโขนง
    4.   สี่แผ่นดิน
  28. ข้อใดไม่ใช่ประเภทวรรณกรรมสารคดี
    1.   ตำราอาหาร
    2.   บทเพลง
    3.   หนังสือวิชาการ
    4.   บทความ
  29. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของร้อยกรองปัจจุบัน
    1.   สร้างจินตนาการกว้างไกล
    2.   นำเสนอข้อคิดเห็นมากกว่าเสนอความไพเราะ
    3.   ไม่เคร่งครัดในด้านฉันทลักษณ์
    4.   ใช้ถ้อยคำง่ายๆ สั้นๆ
  30. ข้อใดเป็นวรรณกรรมในปัจจุบัน
    1.   ขุนช้างขุนแผน
    2.   อิเหนา
    3.   สายโลหิต
    4.   พระอภัยมณี
  31. ข้อใดเป็นการแบ่งประเภทตามลักษณะการแต่ง
    1.   วรรณคดีนิราศ วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ
    2.   วรรณกรรมบริสุทธิ์ วรรณกรรมประยุกต์
    3.   วรรณกรรมร้อยแก้ว วรรณกรรมประเภทร้อยกรอง
    4.   วรรณกรรมมุขปาฐะ วรรณกรรมลายลักษณ์
  32. ข้อใดคือรูปแบบวรรณคดีแบบดั่งเดิม
    1.   บทภาพยนตร์
    2.   พงศาวดาร
    3.   นวนิยาย
    4.   สารคดี
  33. ข้อใดใช้ภาพพจน์มากกว่าหนึ่งชนิด
    1.   ดังหับดับหิ่งห้อย เหือดแห้งแสงหาย
    2.   เปรียบหนักชนกคุณ ชนนีคือภูผา
    3.   ปัญญาค่าเปรียบแก้ว ก่องเก็จ
    4.   ตายระดับทับกันดังฟอนฟาง เลือดคนองท้องช้างเหลวไหล

__________________________________________________________________________________แบบทดสอบโดย นายปฐมพร  ธัมมาภิรัตตระกูล ครู กศน.แขวงบ้านพานถม



กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720