หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



ประวัตินักวิทยาศาสตร์ : พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นักวิทยาศาสตร์ของโลก พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ประวัติส่วนตัว

พระราชสมภพ : 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347
สวรรคต : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

ผลงาน : 1. การวางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
1.1 สถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย
2. ผลงานการวิจัย
2.1 การคำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
2.2 การคำนวณว่าจะมีการเกิดอุปราคาได้หรือไม่
2.3 การคำนวณว่าการเกิดอุปราคาที่หว้ากอ จะเกิดสุริยุปราคาในลักษณะใด 

ประวัติความเป็นมา 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ สมเด็จพระศรี สุเรนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม ธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ขณะประสูติสมเด็จพระราชบิดาดำรง พระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระบรมนามาภิไธยเป็น สมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว จึงเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมหาราชวัง 

เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ทรงได้รับการศึกษาเยี่ยงขัติติยราชกุมารตั้งแต่เสด็จประทับ ณ พระราชวังเดิม ทรงศึกษา วิชาสำคัญต่าง ๆ เช่นการฝึกหัดอาวุธ วิชาคชกรรม และทรงสนพระทัยในการศึกษาภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก 

ด้านพุทธศาสนา เมื่อพระชนมายุครบอุปสมบทก็ทรงผนวช และผนวชอยู่นานตลอดรัชการที่ 3 ระหว่างจำพรรษา ณ วัด ราชาธิวาสได้ทรงศึกษาวิชาการทางพุทธศาสนา ทรงแตกฉานในรพระไตรปิฎกเพราะทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง ทรง เห็นการปฏิบัติอันหย่อนยานของสงฆ์บางส่วนในสมัยนั้น จึงได้ทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างแก่สงฆ์ ที่เคร่งครัด
การปฏิบัติต่อไป 

ในด้านวิชาการทั่วไป ทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์ภาษาละติน ภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไปที่ถือกันว่าทันสมัย รวมทั้ง ทรงสนพระทัย เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นรอบบ้านเมืองของเราตลอดเวลา 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ เสนาบดี และ ข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวง ได้พร้อมกันอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี จึงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 

พระราชกรณียกิจต่าง ๆ นอกจากด้านการต่างประเทศ การพระศาสนา การทะนุบำรุงพัฒนาบ้านเมืองบำรุงศิลป วัฒนธรรมแล้วยังทรงสนพระทัยด้านวิทยาการแผนใหม่อย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ นับเป็นอรุณรุ่งแห่งการนับอารยะธรรม ตะวันตก ด้วยทรงถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงกิจการบ้านเมืองให้ก้าวหน้าทันกันความเปลี่ยนแปลงในโลก ทรงสนับสนุนให้มี
การศึกษา ศิลปวิทยาแผนใหม่ทั้งหลายที่มีประโยชน์ต่อการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศดังปรากฎว่ามีสิ้งริเริ่มใหม่ ๆ เกิดขึ้น มากมายเช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การสั่งซื้อเครื่องจักรเข้ามาผลิตเหรียญกษาปณ์ การฝึกหัดทหารและได้จัดซื้อ อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างยุโรป 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยอกย่องในพระราชสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เพราะทรงพระปรีชาสามารถ ทรงศึกษาเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น บาลี อังกฤษ ละตินเป็นพิเศษ สำหรับ พระปรีชาสามารถและอัจฉริยะทางดาราศาสตร์ ทรงศึกษาโดยพระองค์เองจากตำราไทยและมอญ ซึ่งแปลจากตำราโบราณของ ฮินดู และทรงศึกษาตำราดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากยุโรป จนสามารถคำนวณได้ล่วงหน้าถึง 2 ปีว่า จะเกิ สุริยุปราคาเต็ม ดวงในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 และเห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศไทยที่บ้านคลองลึก ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังกล่าวมาแล้วในตอนต้นเป็นเหตุให้ทรงได้รับการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ของชาติมหาอำนาจในยุคนั้นเป็นอย่างสูง 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับทูลเกล้า ฯ ถวายพระเกียรติ ให้ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสัตว์ วิทยาสมาคมแห่งสหราชอาณาจักร บรรดาประมุขของต่างประเทศในยุโรปอเมริกาต่างพากันตระหนักดีว่า ทรงสนพระทัย วิทยาศาสตร์ยิ่งนักในจำนวนเครื่องราชบรรณาการ จึงมักมีเครื่องมือและหนังสือทางวิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วยเสมอ เช่น พระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งเซอร์ ยอนบาวริ่ง ได้บันทึกไว้ว่า กล้องที่
นำมาถวายมีคุณภาพต่ำกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ทรงมีอยู่แล้วเสียอีก กล่าวกันว่าในห้องส่วนพระองค์จะมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เหมือนห้องนักปราชญ์ ราชบัณฑิตที่มีชื่อเสียงและมั่งคั่งของโลกในสมัยนั้นทีเดียว 

ทรงเป็นนักปฏิบัติทดลองรวบรวมข้อมูล ทรงวัดเส้นรุ้งเส้นแวงด้วยพระองค์เอง ทรงสร้างหอดูดาวขึ้นที่เขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี ทรงตั้งเวลามาตรฐานของไทย โดยโปรดให้สร้างนาฬิกาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และตั้งเวลามาตรฐาน เพื่อให้ชาวต่างประเทศในเมืองไทยด้วย 

ทรงแก้ปัญหาบ้านเมืองบางประการ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ คือมีเหตุผลรายละเอียดถี่ถ้วน ไม่เชื่อโชคลาง อาทิ เช่น ประกาศเรื่องป่วงใหญ่ และประกาศดาวหาว มีความว่า 

"….ที่คิดว่าโรคป่วงใหญ่ เป็นกองทัพภูตผีปีศาจนั้นไม่ถูกต้อง และคนทั้งปวงคิดจะคุ้มครองตนเองโดยการบ่น คาถา ภาวนาพิธีต่าง ๆ และอ้อนวอนต่อเทวดาเทพบุตรเทพธิดา และผีปีศาจต่าง ๆ นั้นขอให้ช่วยคุ้มครอง การบรวงสรวงบูชายัญ เสียกบาลด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นที่น่าเกลียดน่าชัง น่าหัวร่อ " 

เรื่องดาวหางขึ้นทรงปลอบใจว่าอย่าได้วิตก ทรงชี้ให้เห็นว่าเป็นเพียงปรากฎการณ์ธรรมชาติ ทรงแนะวิธีแก้ความเชื่อ ไว้ว่าถ้ากลัวฝนแล้งก็ให้รีบทำนาเสียขณะที่มีฝนอยู่ ถ้าครอบครัวใดไม่ได้ทำนาก็ให้จัดซื้อข้าวไว้ให้พอกิน ถ้ากลัวฝีดาษก็ให้มา ปลูกฝีเสียที่โรงทาน….. "ถ้าดาวหางมาบนฟ้าโกรธขึ้งหึงสาพยาบาทอาฆาตแค้นอะไรอยู่กับเจ้านาย มาแล้วจะไม่มาตรงไล่เอา เจ้านายทีเดียวไม่เห็นจริงด้วย" 

28 5413-00096-3 นายไพรวัลย์ นอกสันเทียะ


กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720