หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



ประวัติศิลปิน : วินเซนท์ แวน โก๊ะ

ประวัติของวินเซนท์ แวน โก๊ะ (ศิลปินของโลก)

       วินเซนต์ แวน โก๊ะ ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียง ของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ แบบโมเดินท์ อารต์ เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้ เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย 

วินเซนต์ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วินเซนต์เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อแวนโก๊ะอายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876 



แวน โก๊ะเริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลยประกอบกับถูกปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อ ทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนค่นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเดินทาง ครั้งนี้ แวนโก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่มในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะเรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียน การเขียนภาพ   


ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลองการเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่า งๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรกขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า " โปเตโต อีทเตอร์ "   

เมื่อความเหงาและความอ้างว้างเริ่มเข้ามาแกาะกุมจิตใจของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจากหมู่บ้านและเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติ ตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์ เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุดเขาก็ได้เลิกเรียน เพื่อไปยังปารีส ทีนั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิเพราส์เช่นนิสท์อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่าๆ วินเซนต์ แวน โก๊ะ ใช้ชีวิตในตัวเมืองปารีส ได้สักพักก็เริ่มเบื่อ เขาจึงออกจากปารีส ไปในปี ค.ศ.1888 เพื่อไปยังเมืองอาเรสทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ ที่เมืองอาเรสนั้น แวน โก๊ะได้เช่าบ้านหลังหนึ่ง แล้วตกแต่งบ้านด้วยสีเหลืองทั้งหมด เขาหวังที่จะตั้ง กลุ่มศิลปินอิมเพรสเช่นนิสท์ขึ้น ในเดือนตุลาคม จอร์จีนส์ได้มาอยู่ร่วมกับเขา แต่ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็ต้องขาดสะบั้นลงในคืนวันค ริสตมาส อีฟ จอร์จีนส์ ได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแวน โก๊ะ ทำให้แวน โก๊ะ เกิดบ้าเลือดขึ้นมาแล้วตัดใบหู ของตัวเอง ทำให้จอร์จีนส์จากไป และตัวของเขาเองต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การแสดงอาการต่างๆ ของแวน โก๊ะ นั้น ทำให้เห็นถึงสภาพจิตใจและประสาทที่ผิดปกติ ในที่สุดเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้าเป็นเวลา 1 ปีเต็ม เมื่อ แวน โก๊ะ ออกจากโรงพยาบาล เขาได้ไปอาศัยอยู่กับศิลปิน นักฟิสิกส์ ได้ประมาณ 2 เดือน และในวันที่ 27 กรกฎาคมของปี ค.ศ.1890 เขาได้ยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก
2 วันต่อมา 

ช่วงชีวิตของ แวน โก๊ะตอนที่อยู่ที่อาเรสนั้น ได้สร้างผลงานเขียนภาพที่ยิ่งใหญ่เอาไว้ มากมาย เขาเขียนภาพของธรรมชาติอันงดงาม ภาพทุ่งหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์ ภาพของดอกไม้นานาชนิด และภาพดอกไอริสที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถขายได้ถึง 53.9ล้านดอลลาร์ในเวลานั้น




5423-00116-3 น.ส.วราพร รุ่งเจริญ
กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720