หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



ทัศนะและทรรศนะ

ขอเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคำว่า ทัศนะ และทรรศนะ ทั้งสองคำนี้ใช้แทนกันได้รึเปล่า หรือใช้แตกต่างกันอย่างไร พอจะสรุปได้ดังนี้ 

ทัศนะ - ทรรศนะ.. เป็นคำเดียวกัน หมายความว่า "ความเห็น,เครื่องรู้เห็น,สิ่งที่เห็น,การแสดง" ที่เขียนต่างกันนั้น 

ทัศนะ เขียนตามรูปภาษามคธ( ภาษาถิ่นของภาษาอินเดียโบราณ) ส่วน ทรรศนะ เขียนตามรูปภาษาสันสกฤต 

แต่เดิมนั้น คำทั้งสองมีกฏเกณฑ์การใช้ที่ค่อนข้างแน่นอน คือ 
ทัศนะ ใช้ประกอบหน้าศัพท์ เช่น 
ทัศนคติ - แนวความคิดเห็น 
ทัศนวิสัย - ระยะทางไกลสุดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและรู้ว่าเป็นอะไร 
ทัศนศึกษา - การศึกษานอกสถานที่ หรือท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้ 

ส่วน ทรรศนะ นั้นใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น 
จุลทรรศน์ - กล้อง 
ส่วน ทรรศนะ นั้นใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น 
จุลทรรศน์ - กล้องขยายดูของเล็กให้เป็นเป็นของใหญ่ 
โทรทรรศน์ - กล่องส่องทางไกล หรือกล้องสลัด 
แต่แนวนิยมเช่นนี้ได้เปลี่ยนไปเมื่อปี พ.ศ. 2497 ประเทศไทยเราเริ่มมี "โทรทัศน์" เข้ามา และออกเสียงตรงกับคำว่า "โทรทรรศน์" ที่หมายถึงกล้องส่องทางไกล จึงจำเป็นต้องสะกดให้ต่างกันเป็น "โทรทัศน์" 




ขอบคุณที่มา จำนงค์ ทองประเสริฐ : ภาษาของเรา 
: kroobannok
กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720