หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



วิธีประหยัดไฟฟ้า

วิธีประหยัดไฟฟ้าจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรยนต์ ในชีวิตประจำวัน


1. ใช้แอร์ระบบตั้งเวลาให้ปิดก่อนเวลาตื่น 1 ชั่วโมง

2. ปิดแอร์ที่ทำงาน ½ - 1 ชั่วโมงก่อนเวลา เลิกงาน หากมีการทำ OT ใช้พัดลมไอน้ำแทนได้

3. นั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ลดการใช้ไฟโคมบนโต๊ะทำงานได้

4. เปิดไฟแสงสว่างในที่ทำงานเฉพาะจุดที่จำเป็น คนที่ไม่มาทำงานหรือกลับบ้านแล้ว ต้องปิดไฟบริเวณนั้นให้หมด

5. ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ เปิดเฉพาะที่จำเป็น ทางที่ดีรวบรวมคนทั้งบ้านมานั่งล้อมวงทานข้าว เล่าเรื่อง สังสรรค์พร้อมหน้าพร้อมตากันยามค่ำทุกวัน จะได้ใช้ไฟดวงเดียว

6. เดินทางไปไหนคนเดียว ไม่จำเป็นอย่าขับรถ ใช้รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถโดยสารแทน

7. สมานฉันท์กับเพื่อนบ้านที่ทำงาน โรงเรียนลูก ใกล้กันหรือทางเดียวกัน นั่งรถไปทำงาน หรือส่งลูกคันเดียวกัน อาจจะขับให้กันฟรีๆหรือเหมาคิดค่าน้ำมันรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน



8. หากมีทุนสักหน่อย ให้ปูแผ่นกันความร้อนบนฝ้าเพดานทั้งบ้าน กันความร้อนจากแสงแดดเข้าสู่ตัวบ้าน ลดการใช้พลังงานจากการทำงานของเครื่องทำความเย็นในบ้านได้

9. ใช้ระบบไหลเวียนของน้ำ พรมหลังคาให้เย็นตลอดเวลา

10. ใช้ระบบไหลเวียนของอากาศ ปัดลมร้อนออกไปจากรัศมีตัวบ้าน อาจจะเพียงแค่เปิดหน้าต่างมุมที่รับลม หรือติดตั้งตัวหมุนบนหลังคา

11. ปลูกบ้าน อาคาร ต้องดูทิศทางลม และแสงแดด อย่าหันหน้าบ้าน ไปทางทิศตะวันตกเพราะจะทำให้ร้อนไปถึงตอนกลางคืน
12. ทาสีภายนอกอาคารให้สะท้อนแสง และภายในอย่าใช้สีทึบ
13. หลีกเลี่ยงการใช้กำแพง หน้าต่าง กระจกบนตัวอาคาร หากใช้ก็ให้ติดฟิล์มกรองแสง เพื่อกันความร้อนเข้าตัวอาคาร และไม่สะท้อนแสงและความร้อนออกไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
14. ปิด พัดลมระบายอากาศในห้องแอร์ได้ หากในห้องไม่มีกลิ่นจากควันบุหรี่ อาหาร ควัน ฝุ่นไอ อันไม่พึงประสงค์ เพื่อลดปริมาณอากาศร้อนจากภายนอกเข้ามาเป็นเหตุให้เครื่องปรับอากาษต้องทำ งานหนักขึ้น
15. ตั้งให้คอมพิวเตอร์ปิดหน้าจอโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่ใช้งานสักระยะหนึ่ง ทั้งประหยัดไฟและลดการทำงานของระบบทำความเย็น
16. เปิด แอร์ที่อุณหภูมิ 28-30 C แล้วเปิดพัดลมควบคู่เพื่อเพิ่มความเร็วลม จะเย็นเหมือนเปิดที่ 25-26 C เพราะความเย็นเกิดจากความสัมพันธ์ของ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วของลม
17. จัดห้องให้ตู้ ชั้นวางของอยู่ติดกำแพงด้านตะวันออกและตะวันตกที่ต้องรับไอแดด ช่วยดูดซับความร้อนและลดการแผ่รังสีความร้อนของกำแพง
18. ปิดแอร์เมื่อ ไม่ใช้งาน และอย่าเปิดช่องให้ความเย็นออก ใช้วิธีเปิดพัดลมช่วย เพื่อประหยัดพลังงานตอนเปิดแอร์ใช้อีกครั้ง
19. เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น หม้อต้มน้ำ ต้มกาแฟ เคนื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น จะปล่อยความร้อนออกมา จึงไม่ควรไว้ในห้องแอร์
20. งดสูบบุหรี่ สร้างมลพิษในอากาศในห้องที่ปิดทึบ ห้องแอร์ เพราะจะทำให้ต้องมีการเปิดพัดลมเพื่อระบายออก มีผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นเพราะอากาศร้อนภายนอกเข้ามา และฝุ่นละอองไปจับที่คอลย์น้อย ทำให้ต้องมีการบำรุงรักษาบ่อยขึ้น
21. ปิดช่องโหว่ รูรั่วตามกำแพง ปิดม่านบังแสง เพื่อมิให้ความร้อนจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามา และม่านยังช่วยสะท้อนความร้อนออกไป
22. ใช้โคมไฟแสงสว่างในที่ทำงาน แบบที่มีแผ่นสะท้อนแสงช่วยลดจำนวนหลอดไฟ
23. ใช้หลอดผอม หรือ หลอดคอมแพค ประหยัดไฟ หมั่นทำความสะอาด อย่าให้ในจับจนแสงพร่ามัว
24. ใช้ ตู้เย็นประตูบานเดียว ที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบน ประหยัดไฟกว่า ตั้งอุณหภูมิที่ 3-6 C ชองแช่แข็งตั้งที่ ลบ15-18 C ประหยัดที่สุด
25. หมั่น ทำความสะอาดแผงระบายความร้อนหลังตู้เย็น ดูแลยางขอบประตูให้ปิดสนิทอยู่เสมอ อย่าเปิดปิดบ่อย อบ่านำของร้อนเข้าตู้เย็น
26. ตรวจสอบว่ามีไฟรั่วไปทางสายดินหรือไม่ โดยปิดสวิทช์ไฟทุกอย่าง แล้วดูมิเตอร์ว่ายังเดินอยู่หรือไม่  สำหรับตู้เย็นให้เปิดไว้ขณะปิดอย่างอื่นหมด แล้วปรับสวิทชฺควบคุมอุณหภูมิลงจนต่ำสุดให้อมเพรสเซอร์หยุดทำงานก่อน ไปสังเกตุมิเตอร์ไฟฟ้า
27. เลือกใช้เครื่องปรับอากศที่มีขนาดพอเหมาะกับ การใช้งานในพื้นที่ และติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่ถูกแสงแดด ความร้อนโดยตรง และระบายอากาศได้ดี
13-14 ตร.ม. ใช้   8000 BTU
16-17 ตร.ม. ใช้ 10000 BTU
20       ตร.ม. ใช้ 12000 BTU
23-24 ตร.ม. ใช้ 14000 BTU
30       ตร.ม. ใช้ 18000 BTU
40       ตร.ม. ใช้ 24000 BTU
กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720