หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์ กศน.แขวงบ้านพานถม เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี



การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

           การเคลือบรูปวิทยาศาสตร์  ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณปี 2509 ซึ่งชื่อทางการค้าว่า กรอบรูปวิยาศาสตร์ เป็นการเคลือบรูป ให้เกิดความสวยงานและเป็นการบำรุงรักษาสภาพของรูปให้อยู่คงทนไม่ชำรุดหรือมัว เนื่องจากความชื้นหรือเกิดเชื้อราที่รูปภาพ



วัสดุและอุปกรณ์
เรซิ่นเคลือบรูป (ชื่อทางการคือ โพลิเอสเทอร์เรซิ่นชนิดไม่อิ่มตัว หรือ Unsaturated Polyester Resin) เบอร์ KC-228-W
ซึ่งผสมตัวเร่งปฏิกิริยา (Accelerator) หรือ (Promoter) แล้วเป็นพลาสติกเหลวมีหลายสี เช่น แดง ม่วง ใสมีกลิ่นฉุน
ตัวทำให้แข็งหรือตัวเน่งปฏิกิริยา (Catalyst หรือ Hardener) ชื่อทางเคมี MEKP มีลักษณะเหลวใสไม่มีกลิ่น กลิ่นฉุนแรงกัดมือ ระวังอย่าให้เข้าตา
อะซิโตน (Acetone) มีลักษณะของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นฉุนแรงกว่าทินเนอร์ ติดไฟง่าย ใช้ล้างโพลิเอสเตอร ์หรือเริซิ่นเคลือบรูป
กรอบรูป (ไม้แผ่น) ใหญ่กว่ารูปภาพ ปรกติใช้ไม้ MDF เป็นไม้ยางพาราชนิดดี หรือใช้ไม้ PB ไม้ยูคาก็ได้
กระดาษลายไม้ หรือลายหน้า ใช้ปิดรอบรูปเพื่อความสวยงาม
รูปโปสการ์ด รูปถ่าย ใบประกาศ หรืออื่นๆที่ต้องการเคลือบ
กาวลาเท็กซ์ เพื่อติดรูป และลายไม้
ฟิล์มไมล่าร์ หนา 70-180 ไมครอน ขนาดใหญกว่าภาพอย่างน้อย 1 นิ้ว
ลูกกลิ้งใช้รีดรูปให้เรียบ และใช้ไล่ฟองอากาศในเรซิ่น
ถ้วยพลาสติก
ไม้กวน
มีดคัตเตอร์
ขอบข้าง มีลายไม้ และสีดำ เป็นสติกเกอร์ ใช้ติดด้านข้างรูป
ดิ้นทอง ใช้ตัดขอบรูป
ไขควง
น๊อต
หูขา
หูแขวน
ขาตั้งพลาสติก
กระดาษกาวย่น ขนาด 10 มิล หรือใหญกว่าด้านข้างแผ่นไม้
กระดาษทรายน้ำ เบอร์ 150
กาวกันซึม

การเตรียมอุปกรณ์

เตรียมรูป
รูปที่ใช้ในการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
รูปที่สามารถเคลือบได้ เช่น รูปถ่าย
รูปที่ต้องการทาน้ำยากันซึมก่อนจึงจะเคลือบได้ เช่นรูปจากหนังสือนิตยาสาร ธนบัตร ใบประกาศนียบัตร รูปโปสเตอร์




การเตรียมไม้

ไม้ที่ใช้ติดรูปเพื่อทำกรอบวิทยาศาสตร์ ได้แก่ไม้ MDF หรือเรียกว่าไม้อัด มีความหนาตั้งแต่ 3 มม. ถึง 9 มม.
เลือกขนาดไม้ให้เหมาะสมกับรูป
ด้านบนหรือด้านข้างจะต้องเรียบไม่ขรุขระหรือเป็นหลุม

วิธีทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
ติดกระดาษลายไม้กับไม้อัดทั้งสองด้านโดยทากาวที่ไม้อัดตลอดทั้งแผ่นให้เรียบและไม่หนาจนเกินไป นำกระดาษลายที่ตัด
ไว้มาติดลงบนแผ่นไม้โดยใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ ใช้คัตเตอร์ ตัดส่วนเกินจากไม้ให้ชิดขอบไม้ทุกด้าน
ติดเทปกระดาษย่นหรือเทปใส ที่ขอบของแผ่นไม้ ไม้อัดหนา 10 มม. โดยรอบให้ขอบเทปเสมอผิวด้านบนของแผ่นไม้ที่จะ
ติดรูปพับเทปส่วนเกินไว้ด้านหลังให้แนบติดผิวหน้าไม้ด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะขอบไม้และไหลลงไปเปื้อนด้านหลังรูป
ทากาวลาเท็กซ์ ด้านหลังของรูปให้เสมอกันไม่ต้องมากจนเกินไปเพราะจะทำให้แห้งช้า (รูปที่นำไปทากาวควรรีดให้ตรงไม่โค้ง ถ้ามีขอบเยินควรใช้มีดคัตเตอร์แต่งให้เรียบร้อยก่อน)
ติดรูปที่ทากาวแล้วบนไม้อัดที่เตรียมไว้ ใช้ลูกลิ้งกลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ
ติดดิ้นเงินดิ้นทองรอบรูปทั้ง 4 ด้าน ตามต้องการควรติดให้ชิดขอบรูป
ทาน้ำยากันซึมในกรณีที่ไม่ใช่รูปถ่าย ทาน้ำยากันซึมควรทาประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องทิ้งให้แห้งเสียก่อน
นำรูปที่เตรียมเรียบร้อยแล้ววางลงบนที่รองสูงจากพื้นประมาณ 1-2นิ้ว ควรปูกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะที่ขอบไม้และไหลลงไปเลอะที่พื้น
เทเรซิ่นเคลือบรูป KC-288 ลงในถ้วยพลาสติกที่เตรียมไว้ประมาณ 30-40 ซีซี หยดตัวทำให้แข็งลงไปประมาณ 0.5% หรือประมาณ 3-4 หยด (เรซิ่นประมาณ 1 ซีซี ต่อพื้นผิว 7-8 ตร.ซ.ม.) ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน โดยกวนบริเวณขอบถ้วยด้วยอย่ากวนนานเกินไปเรซิ่นจะเป็นวุ้นแข็งตัวเสียก่อน ไม่เกิน 1 นาที
ทิ้งเรซิ่นไว้ซักครู่ เพื่อให้ฟองอากาศลอยออก จึงเทเรซิ่นที่ผสมแล้วลงตรงกลางรูปนำแผ่นฟิล์ม ไมล่าร์ที่ขึงไว้กับเฟรม วางทับลงบนน้ำยาเรซิ่น แล้วใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งบนแผ่นฟิล์ม ให้น้ำยาเรซิ่นวิ่งไปจนไม่มีฟองอากาศ(การกลิ้งจากกลางรูปออกไปทั้ง 4 ด้าน และออกแรงกดพอประมาณ ใช้เวลาในการกลิ้งไม่ควรเกิน 6 นาที)
ทิ้งเรซิ่นให้แห้งสนิทประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือสังเกตุจากรซิ่นที่ย้อยติดด้านล่างดูจะแข็งคล้ายเม็ดข้าวสาร แห้ง หรือทดลองหยิกดูจะหยิกไม่แตก หากยังนิ่มแสดงว่ายังไม่แข็งพอ เมื่อเรซิ่นแข็งตัวแล้วให้ใช้ปากกาเมจิกสีดำทำเครื่องหมายที่มุมทั้งสี่ เพื่อที่จะได้นำฟิล์มไมล่าร์ไปใช้ในครั้งต่อไป ได้โดยสะดวกขึ้น
เมื่อเคลือบครั้งที่หนึ่งแล้วจะเคลือบอีกกี่ทีก็ได้ แต่ต้องใช้กระดาษทรายน้ำชนิดหยาบปานกลางเบอร์ 120-140 ลูบบริเวณขอบที่เป็นลายไม้ผิวหยาบ อย่าขัดบริเวณตรงกลางรูปเพื่อให้เรซิ่นเกาะติดแน่นกับ เรซิ่นที่เคลือบครั้งแรก ผิวที่ขัดจะกลายเป็นฝ้าสีขาวอย่าตกใจเพราะเมื่อเรซิ่นครั้งที่ 2 เคลือบทับลงไปจะใสเหมือนเดิม
ดึงเทปและเรซิ่นที่ติดขอบออก
ใช้กระดาษทรายชนิดหยาบปานกลางพันรอบแท่งไม้รูปสี่เหลี่ยมขัดขอบให้เรียบเสมอกัน ขณะขัดไม่ควรใช้นิ้วมือกดหรือจับผิวที่เคลือบเรซิ่น เพราะอาจเกิดรอยนิ้วมือได้อันเนื่องมาจากมือสกปรก (ทางที่ดีควรใช้กระดาษหรือเทปปิดทับผิวหน้าก่อนขัด)
ติดขอบข้างรอบรูปทั้ง 4 ด้านให้เรียบร้อย ทำความสะอาด
ติดขาตั้งหรือโซ่แขวนกับกรอบรูป

ข้อควรระวัง
ฮาร์ดเดนเนอร์ หรือตัวทำให้แข็ง ถ้าถูกผิวหนังควรใช้สบู่ล้างดีกว่าผงซักฟอก เพราะเป็นกรดชนิดหนึ่ง
น้ำยาเรซิ่นมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือน ไม่ควรเก็บไว้ที่ร้อนจัด ควรเก็บไว้ที่ทึบแสง อุณหภูมิประมาณ 20-30องศาเซลเซียส
การผสมเรซิ่นกับตัวทำให้แข็ง ถ้าอากาศร้อนควรลดปริมาณตัวทำให้แข็งลง ถ้าอากาศเย็นควรเพิ่มประมาณตัวทำให้แข็งมากขึ้น
การคนน้ำยาไม่ทั่วถึง จะทำให้เรซิ่นแข็งตัวผสมไม่เสมอกัน
การเก็บและทำความสะอาดแผ่นฟิล์มไมล่์าร์ ระวังอย่าให้แผ่นฟิล์มหักหรือเป็นรอย
รูปถ่ายที่เป็นกระดาษอัดรูป ยกเว้นกระดาษพิมพ์ต่างๆ ถ้าเปื้อนกาวหรือลอยนิ้วมือใช้ทินเนอร์เช็ดทำความ สะอาดได้ แต่อย่าให้ถูกกระดาษไม้เพราะจะทำให้กระดาษลายไม้ลอกทันที
กศน.แขวงบ้านพานถม 110 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200 โทรศัพท์ 0-2280-8348 โทรสาร 0-2280-8349 มือถือ 083-270-1720