หลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยเขตพระนคร
หลักสูตร การประดิษฐ์ของที่ระลึก
หลักการและเหตุผล
จากยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการจัดทำยุทธศาสตร์เพ่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนำพากลุ่ม เป้าหมายสู่ความสมดุลและยั่งยืนด้วยการสร้างและพัฒนา “ทุนมนุษย์” ให้เข้มแข็งมีพลังพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม สามารถขับเคลื่อนให้กลุ่มเป้าหมายค้นพบศักยภาพของตนเองให้มีความรู้ มีความสามารถมีการงานอาชีพที่มั่นคง พึ่งพาตนเอง สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ ตามบริบทและความต้องการของตลาดและผู้บริโภค โดยได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้หน่วยงานปฏิบัติงาน โดยบูรณาการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์ 9 ประเด็น โดยมุ่งเน้นประเด็นที่ 8
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำใน 5 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และกลุ่มจัดการและการบริการ โดยสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครจัดทำหลักสูตรกรจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตพระนครเห็นความสำคัญของการประกอบและพัฒนาอาชีพแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงได้จัดทำหลักสูตรศิลปะระดิษฐ์ที่สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในเขตพระนครต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประดิษฐ์ของที่ระลึกได้อย่างน้อย 5 อย่าง
2. เพื่อให้ผู้เรียนบอกและเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้ทำของที่ระลึกได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนบอกและใช้เครื่องมือในการทำของที่ระลึกได้อย่างถูกต้องและเหมาสม
4. เพื่อให้ผู้เรียนบอกถึงขั้นตอนและการประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้
5. เพื่อให้ผู้เรียนบอกวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือ วัสดุ/อุปกรณ์ได้
6. เพื่อให้ผู้เรียนบอกแนวทางในการจัดการ การตลาดในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับเครื่องประดับได้
สาระการเรียนรู้
1. ความสำคัญและประโยชน์ของที่ระลึก
2. การจัดหาวัสดุ-อุปกรณ์
3. วิธการและขั้นตอนการประดิษฐ์
4. การทำบรรจุภัณฑ์สำหรับของที่ระลึก
5. ช่องทางการตลาด
โครงสร้างหลักสูตร
- ภาคทฤษฏี จำนวน 25 ชั่วโมงขึ้นไป
- ภาคปฏิบัติ จำนวน 125 ชั่วโมงขึ้นไป
1. ดอกบัวมงคล จำนวน 30 ชั่วโมง
2. ต้นไม้มงคล จำนวน 30 ชั่วโมง
3. พวงกุญแจคริสตัล จำนวน 30 ชั่วโมง
4. โมบายต่าง ๆ จำนวน 30 ชั่วโมง
5. ดอกกุหลาบกระดาษสา / พับธนบัตร จำนวน 30 ชั่วโมง
6. ถักเชือกมาคาเม่ จำนวน 30 ชั่วโมง
7. ดอกไม้ดินจิ๋ว จำนวน 30 ชั่วโมง
8. พับผ้าเป็นตัวสัตว์ จำนวน 30 ชั่วโมง
9. การบูรผลไม้ จำนวน 30 ชั่วโมง
10. ผ้าใยบัว จำนวน 50 ชั่วโมง
11. ผ้าบาติก จำนวน 30 ชั่วโมง
หมายเหตุ ผู้เรียน 1 คน สามารถเลือกเรียนอย่างน้อย 150 ชั่วโมงขึ้นไป
กระบวนการเรียนรู้
1. บรรยาย
2. สาธิต
3. ฝึกปฏิบัติจริง
4. พบผู้รู้ , ผู้ประสบความสำเร็จ / ศึกษาดูงาน
สื่อการเรียนรู้
1. สื่อเอกสาร / ใบงาน / CD
2. สื่อวีดีทัศน์
3. ชิ้นงาน
ระยะเวลา
150 ชั่วโมงขึ้นไป
การวัดและประเมินผล
1. การทดสอบ
2. การซักถาม
3. การสังเกต
4. ผลการฝึกปฏิบัติ / ผลสำเร็จของชิ้นงาน