แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการบูรณาการ
ตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
คำนำ
รายงาน
แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการบูรณาการตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโครงการ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นรายงานที่รวบรวมกิจกรรมย่อยอีกหลายกิจกรรมได้แก่ การจัดโครงการที่เกี่ยวข้องกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมบัญชีรายรับ- รายจ่าย และการออม กิจกรรมบ้านสวนผักพอเพียง กิจกรรมประหยัดน้ำประหยัดไฟ รวบรวม เก็บข้อมูล ของทุกกิจกรรม
แล้วรายงานผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปีการศึกษา จนครบปีการศึกษา
ในการดำเนินงาน มีการวางแผนงาน การปฏิบัติงานตามแผนงาน การตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
และการรายงานผลการดำเนินงาน ทำให้ทราบถึงผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน ข้อดี ข้อเสีย
เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุง โครงการ ให้ดีขึ้น
โครงการ/กิจกรรมใดที่ดีอยู่แล้วสมควรดำเนินการต่อให้ดียิ่งๆขึ้นไป โครงการ/กิจกรรมใดที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นควรหยุดดำเนินการ
นอกจากนั้นแล้วในการวิเคราะห์ปัญหา
จุดอ่อน จุดแข็ง ของสถานศึกษา เป็นจุดเริ่มในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
ใหม่เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนต่อไป นอกจากนั้น
ยังเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน และหน่วยงานอื่นๆอีกด้วย
คณะผู้จัด
บทที่ 1
บทนำ
หลักการและเหตุผล
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงครองสิริราชสมบัติ
๖๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๔๙
กระทรวงศึกษาธิการมีความสำนึกในพระหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้รับการยกย่องจากนานาประเทศเป็นกษัตริย์นักพัฒนา
จึงได้น้อมนำพระราชดำรัสเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง”มาเป็นกรอบแนวคิดและแนวทางในการส่งเสริมสถานศึกษาทั่วประเทศให้นำไปประยุกต์ใช้อย่างจริงจังและเหมาะสมเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การดำเนินชีวิตของบุคลากรด้านการศึกษาและผู้เรียนให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงรวมทั้งเป็นภูมิคุ้มกันของสังคม
และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
ตลอดจนมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดและในกำกับร่วมประสานความร่วมมือในการดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง
" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า
๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง
ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ
ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นสถานศึกษาที่ในการผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคม ในสังคมปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย การพัฒนาด้านจิตใจ คุณธรรมและจริยธรรมยังมีน้อย ดังนั้น
โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมเศรษฐกิจพอพียง
เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน
นักเรียนสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข
เมื่อนักเรียนมีคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่ ดี
เก่ง มีสุข และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านร่างกาย อารมณ์
สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2.
เพื่อให้นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.
เพื่อให้สถานศึกษาเป็นสถานศึกษาที่ปลอดจากสิ่งเสพติด
4.
เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ชื่อโครงการ : วิถีเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาพอเพียง
1. หลักการและเหตุผล
เศรษฐกิจพอเพียง"
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า
๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง
ๆ
การพัฒนามาตรฐานคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ
คู่คุณธรรม ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตพระนคร ได้กำหนดนโยบายพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีทักษะในการทำงานและรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต สร้างและพัฒนางานตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์โครงการ
2.1 เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.1 เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 เพื่อส่งเสริมนิสัยการออม
3. เป้าหมายโครงการ
3.1 ด้านปริมาณ
3.1.1 นักศึกษา กศน.เขตพระนคร ร้อยละ 90 เข้าร่วมโครงการ
3.1.2 นักเรียนร้อยละ 90 มีทักษะการออม
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
3.2.2 นักศึกษารู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและถ่ายทอดความรู้สู่ครอบครัว
3.2.3 สถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
4. วิธี/ขั้นตอนการดำเนินการ
4.1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อร่วมวางแผนดำเนินการ
4.2 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ
4.3 ดำเนินการตามแผน
4.4
ประเมินผลโครงการ/
รายงานผลการดำเนินงาน
สาระสำคัญของโครงการ
1) ประชุมคณะครู วิเคราะห์โครงการ/กิจกรรม
ที่ผ่านมา ดำเนินการต่อ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา
2) กำหนดกิจกรรมที่จะพัฒนาและส่งเสริมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดลงแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษา
3) มอบหมายหน้าที่ แต่งตั้งคณะทำงาน
4) ปฏิบัติกิจกรรม
รายละเอียด
แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมการบูรณาการตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
1.
การจัดโครงการเพื่อรอบรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง สถานศึกษา ได้จัด
“โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โครงการลูกพระดาบสสมุทรปราการตามพระราชดำริ
เพื่อนำนักศึกษาศึกษาดูงาน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่
การใช้พื้นที่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
เพื่อนำมาใช้และเป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมวันสำคัญ สถานศึกษานำนักศึกษาในสถานศึกษาของตน ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ
ภายในชุมชน เช่น
การจัดดอกไม้ธูปเทียนและร่วมเวียนเทียนในวันมาฆบูชา ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม ตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. กิจกรรมบัญชีรายรับ- รายจ่าย และการออม
โดยสถานศึกษาจัดกิจกรรมรักการออมขึ้น
ทั้งผู้อำนวยการ คณะครู บุคลากร และนักศึกษา กศน.เขตพระนคร ทุกคน
จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อส่งเสริมนิสัยการออม
เพื่อส่งเสริมการรู้จักประมาณตน การรู้จักใช้จ่าย ตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. กิจกรรมบ้านสวนผักพอเพียง
โดยสถานศึกษาได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน จัดกิจกรรมการปลูกผักสวนครับ
รั้วกินได้ เพื่อส่งเสริมการอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. กิจกรรมประหยัดน้ำประหยัดไฟ (ประหยัดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค) โดยสถานศึกษาจะใช้ไฟฟ้าและน้ำเท่าที่จำเป็น
รนณรงค์ให้บุคลากร เปิดใช้เครื่องปรับอากาศ เวลา 9.30 น. และปิดเวลา 16.00
น.และให้ปิดเครื่องช่วงเวลาพักกลางวัน 1 ชั่งโมง
เพื่อส่งเสริมการอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5) ติดตามประเมินผล
6) รายงานผลการปฏิบัติงาน
รวบรวมสรุปผลการปฏิบัติงานของทุกกิจกรรม นำเสนอต่อผู้บริหาร
นำปัญหา
ข้อบกพร่องไปแก้ไขครั้งต่อไป
5.
ปฏิทินปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมการบูรณาการตามหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (ที่ได้ดำเนินการแล้ว)
กิจกรรม
|
ปี 2555
|
ปี 2556
|
||||||||||
พ.ค
|
มิ.ย.
|
ก.ค
|
ส.ค.
|
ก.ย.
|
ต.ค.
|
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
ม.ค.
|
ก.พ.
|
มี.ค.
|
เม.ย.
|
|
1. การจัดโครงการเพื่อรอบรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง
|
||||||||||||
2 . กิจกรรมวันสำคัญ
|
||||||||||||
3 . กิจกรรมบัญชีรายรับ- รายจ่ายและบัญชีเงิน
ออม
|
||||||||||||
4
. กิจกรรมบ้านสวนผักพอเพียง
|
||||||||||||
5. กิจกรรมประหยัดน้ำประหยัดไฟ
(ประหยัดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค)
|